ระบบขนส่งที่มีประสิทธิภาพ มีระดับการให้บริการที่ดี และเชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจและชุมชน

Logistics-A Driver of Economic Performance

ระบบขนส่งที่มีประสิทธิภาพ มีระดับการให้บริการที่ดี และเชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจและชุมชน

ดร. จุฬา สุขมานพ

 

จากที่ผมได้นำเสนอแผนหลักการพัฒนาระบบขนส่งและจราจร พ.ศ. 2554-2563 ซึ่งกำหนดวิสัยทัศน์ของการพัฒนาสำหรับ 10 ปีข้างหน้า ว่า “มุ่งสู่การขนส่งที่ยั่งยืน (Towards Sustainable Transport)” โดยได้เป้าประสงค์ของแผนไว้ 6 เป้าประสงค์ และในฉบับที่แล้วได้ขยายความเป้าประสงค์แรกซึ่งเกี่ยวข้องกับการทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางเชื่อมต่อการเดินทางและการขนส่ง (Hubs for Connectivity) ในฉบับนี้ผมขอเสนอเป้าประสงค์ที่ 2 : เพื่อให้มีระบบขนส่งที่มีประสิทธิภาพและระดับการให้บริการที่ดี เชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจและชุมชน (Accessibility) ที่ให้น้ำหนักแก่ทั้งด้านเศรษฐกิจและด้านสังคม

 ในเป้าประสงค์นี้ นอกจากมิติด้านการปรับปรุงประสิทธิภาพเพื่อช่วยให้เกิดความคล่องตัวในการเดินทางและขนส่ง โดยคำนึงถึงความเร็วและความตรงต่อเวลาในการเดินทาง และระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ ยังต้องการให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่เศรษฐกิจในภูมิภาค เพื่อให้กระจายความสามารถของประชาชนในการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานและบริการด้านการขนส่ง ดังนั้น แผนงานหรือโครงการจะครอบคลุมถึง การขยายโครงข่ายถนน รถไฟและการให้บริการขนส่งสินค้าและผู้โดยสาร ไปยังพื้นที่เศรษฐกิจในต่างจังหวัดและพื้นที่ห่างไกล

โดยมุ่งหวังให้การเชื่อมโยงพื้นที่ด้วยโครงข่ายคมนาคมเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว กระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค เชื่อมโยงสินค้าจากแหล่งผลิตสู่ศูนย์รวบรวมกระจายสินค้าไปสู่ทุกภูมิภาคของประเทศ รวมทั้งเป็นการตอบสนองความต้องการในการสัญจรของประชาชนในท้องถิ่น เชื่อมโยงความเจริญจากเมืองสู่ชนบท ทั้งยังมีบทบาทสำคัญในการสร้างงาน สร้างรายได้ และยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น เป็นการสร้างความอยู่ดีมีสุข ลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างโอกาสในการเข้าถึงบริการพื้นฐานและบริการทางสังคมของรัฐ เช่น การศึกษา การแพทย์ การสาธารณสุขอย่างเท่าเทียม

จุดเน้นของเป้าประสงค์นี้จะอยู่ที่การเพิ่มประสิทธิภาพของโครงสร้างพื้นฐานและบริการด้านการขนส่ง และการเพิ่มการเข้าถึงและการเชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจและชุมชน โดยได้มีการกำหนดรูปแบบและแนวเส้นทางขนส่งหลักระหว่างพื้นที่เศรษฐกิจภายในประเทศ เพื่อให้สอดคล้องกับศักยภาพเชิงพื้นที่และชุมชน ซึ่งผลลัพธ์การขนส่งบนเส้นทางหลักเชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจจะได้รับความสะดวก รวดเร็ว มีความน่าเชื่อถือ และต้นทุนการขนส่งลดลง ส่งผลทำให้มีโอกาสทางธุรกิจเพิ่มขึ้นและเศรษฐกิจในระดับพื้นที่สามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืน  ซึ่งมีแนวทางในการดำเนินงาน อาทิเช่น

  • การปรับปรุง บำรุงรักษา ใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งทางถนนและยกระดับการพัฒนาเส้นทางอย่างสอดคล้องกับปริมาณจราจรและความต้องการของพื้นที่ตามลำดับความสำคัญจำเป็นเร่งด่วนเพื่อการเดินทางของคนและสินค้า รวมทั้งเชื่อมโยงโครงข่ายให้ครอบคลุมพื้นที่และเมืองในทุกภูมิภาคของประเทศ 
  • การพัฒนาเส้นทางหลวงสายหลักและสายรองที่ยังเชื่อมต่อไม่สมบูรณ์ให้เป็นโครงข่ายที่มีความสมบูรณ์ ได้มาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบทางหลวงพิเศษให้สามารถรองรับการเดินทางและการขนส่งสินค้าเชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจหลักของประเทศกับชุมชนเมืองหลักในภูมิภาค
  • การขยายเส้นทางรถไฟภายในประเทศให้ครอบคลุม และพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวก รวมทั้งองค์ประกอบ ต่อเนื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะการก่อสร้างเส้นทางรถไฟรางคู่ และวางรากฐานการพัฒนารถไฟความเร็วสูงในเส้นทางที่เหมาะสมและเป็นไปได้
  • การปฎิรูปโครงสร้างการบริหารจัดการสาขาการขนส่งทางราง และการปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารจัดการของการรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่อให้การขนส่งทางรถไฟให้มีบริการที่มีประสิทธิภาพและเชื่อถือได้
  • การพัฒนาและปรับปรุงโครงข่ายทางรถไฟเพื่อเชื่อมโยงการเดินทางระหว่างเมืองเศรษฐกิจในประเทศ การขยายโครงข่ายทางรถไฟเพิ่มเติมในเส้นทางที่เหมาะสมและมีศักยภาพ รวมทั้งจัดหาหัวรถจักรและล้อเลื่อน สิ่งอำนวยความสะดวกให้เพียงพอกับความต้องการใช้งาน
  • การพัฒนาพื้นที่ตามแนวเส้นทางรถไฟและเมืองหลักภูมิภาค เพื่อเพิ่มศักยภาพและดึงดูดให้มีความต้องการใช้รถไฟเพิ่มมากขึ้น
  • การใช้เทคโนโลยีและการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและยกระดับคุณภาพการบริการขนส่งสินค้าและการเดินทางด้วยรถไฟ
  • การปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงานและการบริหารด้านการขนส่งทางลำน้ำและการขนส่งทางชายฝั่ง การปรับปรุงขุดลอกร่องน้ำ การพัฒนาบุคลากรด้านการขนส่งทางน้ำและการพาณิชยนาวี
  • การพัฒนาท่าอากาศยานในภูมิภาคที่มีศักยภาพ เพื่อเพิ่มการใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ และสามารถเข้าถึงบริการขนส่งทางอากาศมากยิ่งขึ้น     

ยุทธศาสตร์ในการดำเนินงานตามแนวทางข้างต้น ได้แก่ การพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพระบบขนส่งเพื่อส่งเสริมให้มีการขยายพื้นที่การพัฒนาเศรษฐกิจไปสู่ภูมิภาค  ซึ่งครอบคลุมทั้งด้านการขนส่งทางถนน ทางราง ทางน้ำและทางอากาศ ซึ่งอาจสรุปโครงการและมาตรการที่สำคัญได้ดังนี้

 

การขนส่งทางถนน

• โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ในเส้นทาง บางปะอิน-สระบุรี-นครราชสีมา 199 กิโลเมตร, บางใหญ่-บ้านโป่ง-กาญจนบุรี 98 กิโลเมตร, ชลบุรี-พัทยา-มาบตาพุด 89 กิโลเมตร, นครปฐม-สมุทรสงคราม-ชะอำ 118 กิโลเมตร, และบางปะอิน-นครสวรรค์ 199 กิโลเมตร (กรมทางหลวง)

• โครงการเร่งรัดขยายทางสายประธานให้เป็น 4 ช่องจราจร (กรมทางหลวง)

• โครงการเพิ่มประสิทธิภาพทางหลวง (กรมทางหลวง)

• โครงการยกระดับมาตรฐานทาง (กรมทางหลวงชนบท)

 

การขนส่งทางราง

• โครงการก่อสร้างทางคู่ สายมาบกะเบา-ถนนจิระ (การรถไฟแห่งประเทศไทย)

• โครงการก่อสร้างทางคู่ สายนครปฐม-หนองปลาดุก-หัวหิน (การรถไฟแห่งประเทศไทย)

• โครงการก่อสร้างทางคู่ สายลพบุรี-ปากน้ำโพ (การรถไฟแห่งประเทศไทย)

• โครงการก่อสร้างทางคู่ สายจิระ-ขอนแก่น (การรถไฟแห่งประเทศไทย)

• โครงการก่อสร้างทางคู่ สายประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร (การรถไฟแห่งประเทศไทย)

• โครงการก่อสร้างทางคู่ ระยะที่ 2 สายปากน้ำโพ-ตะพานหิน (การรถไฟแห่งประเทศไทย)

• โครงการก่อสร้างทางคู่ ระยะที่ 2 สายหัวหิน–ประจวบคีรีขันธ์ (การรถไฟแห่งประเทศไทย)

• โครงการก่อสร้างทางคู่ ระยะที่ 2 สายชุมพร-สุราษฎร์ธานี (การรถไฟแห่งประเทศไทย)

• โครงการปรับปรุงทางรถไฟ ระยะที่ 5 (การรถไฟแห่งประเทศไทย)

• โครงการปรับปรุงทางรถไฟ ระยะที่ 6 (การรถไฟแห่งประเทศไทย)

• โครงการปรับปรุงสะพาน (การรถไฟแห่งประเทศไทย)

• โครงการติดตั้งระบบโครงข่ายโทรคมนาคม (การรถไฟแห่งประเทศไทย)

• โครงการอาณัติสัญญาณไฟสี (การรถไฟแห่งประเทศไทย)

• โครงการพัฒนาสะพานเศรษฐกิจเชื่อมโยงท่าเรืออ่าวไทยและท่าเรือฝั่งทะเลอันดามัน (Landbridge) (การรถไฟแห่งประเทศไทย)

• มาตรการปรับโครงสร้างกิจการรถไฟ และแผนการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารจัดการภายใน (การรถไฟแห่งประเทศไทย)

• มาตรการส่งเสริมการกำกับดูแลการขนส่งทางราง โดยการผลักดันกฎหมาย (ร่าง) พระราชบัญญัติบริหารการขนส่ง พ.ศ. … ให้สามารถบังคับใช้ได้ รวมถึงการตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลการขนส่งทางราง (สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร)

 

การขนส่งทางน้ำ

• โครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือ จ.ชุมพร (กรมเจ้าท่า)

• โครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือบ้านนาเกลือ จ.ตรัง (กรมเจ้าท่า)

• งานจ้างเหมาขุดลอกร่องน้ำในประเทศ (กรมเจ้าท่า)

• งานจ้างเหมาขุดลอกร่องน้ำชายฝั่งทะเล (กรมเจ้าท่า)

• มาตรการเร่งรัดระยะเวลาที่ใช้ในการพิจารณาผลการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) และผลกระทบต่อสุขภาพ (HIA) ของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางน้ำ (กรมเจ้าท่า)

• มาตรการการแก้ไขปัญหาความสูงของตอม่อสะพานข้ามแม่น้ำ อุปสรรค และสิ่งกีดขวางในลำน้ำโดยการร่วมมือประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (กรมเจ้าท่า)

• มาตรการอำนวยความสะดวกด้านพิธีการศุลกากรเพื่อลดขั้นตอน เอกสาร ระเบียบพิธีการทางศุลกากรต่างๆ สำหรับการขนส่งทางน้ำ โดยการประสานงานกับกรมศุลกากร (กรมเจ้าท่า)

• มาตรการปรับปรุง แก้ไข ขยายผล ยกร่าง กฎระเบียบ ข้อบังคับ และกฎหมายด้านพาณิชยนาวีที่เกี่ยวข้อง เพื่อเอื้อต่อการดำเนินงานการขนส่งทางน้ำ (กรมเจ้าท่า)

การขนส่งทางอากาศ

• โครงการพัฒนาท่าอากาศยานภูเก็ต (บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)

• โครงการก่อสร้างต่อเติมลานจอดเครื่องบิน และก่อสร้างปรับปรุงอาคารที่พักผู้โดยสารหลังเดิมพร้อมติดตั้งสะพานเทียบเครื่องบิน ท่าอากาศยานกระบี่ (กรมการบินพลเรือน)

• โครงการต่อเติมความยาวทางวิ่ง ลานกลับลำลานจอดเครื่องบินและระบบไฟฟ้าสนามบิน ท่าอากาศยานนราธิวาส (กรมการบินพลเรือน)

• โครงการขยายเขตทางวิ่ง (Runway Strip และ Runway End Safety Area) ท่าอากาศยานสุราษฎร์ธานี (กรมการบินพลเรือน)

• โครงการก่อสร้างปรับปรุงอาคารที่พักผู้โดยสารท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช (กรมการบินพลเรือน)

• มาตรการพัฒนาเครือข่ายเส้นทางการบินเชื่อมโยงทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ โดยให้แรงจูงใจสายการบินต่างๆ มาใช้บริการที่ท่าอากาศต่างๆ ในภูมิภาคของไทย เช่น การช่วยเหลือให้ข้อมูลด้านการตลาดแก่สายการบิน รวมทั้งส่งเสริมกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในภูมิภาค เช่น การท่องเที่ยว การค้า (บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) กรมการบินพลเรือน สายการบินต่างๆ)

• มาตรการส่งเสริมสายการบินให้เพิ่มจุดบินไปยังท่าอากาศยานในภูมิภาคของไทย (บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) กรมการบินพลเรือน สายการบินต่างๆ)

• มาตรการปรับปรุงการดำเนินงานและการให้บริการของท่าอากาศยานในภูมิภาคให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น เพื่อลดเวลาในการเดินทางและเพิ่มความสะดวกสะบายให้แก่ผู้ใช้บริการ (บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) กรมการบินพลเรือน)

• มาตรการส่งเสริมความสะดวกสบายแก่ผู้โดยสารในการเดินทางไปและกลับจากท่าอากาศยาน โดยการส่งเสริมให้มีระบบขนส่งเชื่อมต่อกับท่าอากาศยานในภูมิภาค (บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) กรมการบินพลเรือน)

• มาตรการพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพการให้บริการของท่าอากาศยานในภูมิภาคโดยมุ่งเน้นการตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า (Highly Customer Oriented) ได้แก่ เจ้าหน้าที่สายการบิน ผู้โดยสาร ผู้ขนส่งสินค้า เป็นต้น (บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) กรมการบินพลเรือน)

• มาตรการพัฒนาบุคลากร ทั้งฝ่ายปฎิบัติการ และฝ่ายบริหารจัดการ ให้มีคุณภาพและเพียงพอต่อการปฎิบัติงาน ตลอดจนการส่งเสริมให้พนักงานมีจิตบริการ (Service Mind) อย่างสม่ำเสมอ (บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)

• มาตรการวางแผนการตลาด ประชาสัมพันธ์ และลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Relationship Management) เพื่อส่งเสริมการใช้ท่าอากาศยานนานาชาติให้มากขึ้น (บริ

You can leave a response, or trackback from your own site.

12 Responses to “ระบบขนส่งที่มีประสิทธิภาพ มีระดับการให้บริการที่ดี และเชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจและชุมชน”

  1. Jorge says:

    wail@emigrant.exhibition” rel=”nofollow”>.…

    ñïñ çà èíôó!!…

  2. jimmie says:

    invaluable@skorich.forebearing” rel=”nofollow”>.…

    ñïñ….

  3. Warren says:

    domokous@welded.underway” rel=”nofollow”>.…

    thanks….

  4. Stephen says:

    ij@badura.luminaries” rel=”nofollow”>.…

    ñïñ çà èíôó….

  5. Carlos says:

    tjawn@tractor.cushions” rel=”nofollow”>.…

    ñïàñèáî çà èíôó!…

  6. michael says:

    epigraph@aired.luncheon” rel=”nofollow”>.…

    ñïñ çà èíôó!…

  7. raul says:

    rosenberg@morton.underestimate” rel=”nofollow”>.…

    thanks for information….

  8. andre says:

    violated@otis.subdivisions” rel=”nofollow”>.…

    ñïàñèáî çà èíôó….

  9. Dwight says:

    acquires@neversink.enormous” rel=”nofollow”>.…

    ñïàñèáî!…

  10. ระบบขนส่งที่มีประสิทธิภาพ มีระดับการให้บริ says:

    Jodie Rion…

    I found a great……

  11. ระบบขนส่งที่มีประสิทธิภาพ มีระดับการให้บริ says:

    Proxy-seller…

    I found a great……

Leave a Reply