โซ่อุปทานการส่งออกกล้วยไม้ตัดดอกจากประเทศไทยไปญี่ปุ่น

Supply Chain of orchid cut flowers for export from Thailand to Japan

โซ่อุปทานการส่งออกกล้วยไม้ตัดดอกจากประเทศไทยไปญี่ปุ่น

รุจินารี ถิรวัฒนกุล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ธุรกิจส่งออกกล้วยไม้ตัดดอกเป็นธุรกิจที่สร้างรายได้ให้แก่ประเทศไทยมากกว่า 2,300 ล้านบาทต่อปี ดอกกล้วยไม้ไทยได้รับการยอมรับจากทั่วโลก ทั้งในเรื่องของสีสัน รูปร่างของดอก และมีอายุการใช้งานนาน ไทยมีศักยภาพสูงในการผลิตส่งออกดอกกล้วยไม้ ด้วยประสบการณ์ในการผลิตและการส่งออกมายาวนาน กล้วยไม้ตัดดอกที่ไทยผลิตและส่งออกมากที่สุดคือ กล้วยไม้สกุลหวาย ประมาณร้อยละ 80 ของดอกกล้วยไม้ที่มีการส่งออกทั้งหมด รองลงมาเป็นสกุลม๊อคคาราออนซิเดียม อะแรนดา และแวนดา ตามลำดับ

ตลาดนำเข้าอันดับหนึ่งกล้วยไม้ตัดดอกของไทยคือญี่ปุ่น เนื่องจากประเทศญี่ปุ่นมีเทศกาลและวันสำคัญหลากหลายเทศกาลที่มักจะใช้ดอกกล้วยไม้ในการประดับตกแต่ง เช่น เทศกาลไหว้บรรพบุรุษ เทศกาลแต่งงาน เป็นต้น และใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การประดับตกแต่งอาคารสถานที่ หรือใช้ในโรงแรมเพื่อประดับบนจานอาหาร สำหรับคู่แข่งที่สำคัญในตลาดญี่ปุ่นคือสิงคโปร์และมาเลเซีย

ดอกกล้วยไม้เป็นสินค้าเน่าเสียง่าย ต้องการความรวดเร็วและการควบคุมอุณหภูมิเพื่อรักษาความสดของกล้วยไม้ในการขนส่ง ปัจจัยเหล่านี้เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อคุณภาพและราคาของดอกกล้วยไม้ เพื่อให้สอดคล้องกับภาวะการแข่งขันในปัจจุบัน การนำเครื่องมือการจัดการทางโลจิสติกส์มาจัดการกับหน่วยงานภายในองค์กรให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นในแง่ของการลดขั้นตอนในการดำเนินงานลง ดังนั้นการศึกษาระบบการจัดการโซ่อุปทานในธุรกิจส่งออกกล้วยไม้ตัดดอกเป็นแนวทางหนึ่งที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในธุรกิจกล้วยไม้ตัดดอกส่งออกได้

สภาพทั่วไปของการส่งออกกล้วยไม้ตัดดอก

จากการที่ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูล โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และจากการจดบันทึกข้อมูลในพื้นที่ที่ศึกษาจริง จากกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ตัวแทนผู้ส่งออกกล้วยไม้และบริษัทตัวแทนขนส่งสินค้า ได้สรุปข้อมูลดังต่อไปนี้

กลุ่มผู้ส่งออกแบ่งออกเป็นผู้ส่งออกรายเล็กจำนวน 12 ราย และผู้ส่งออกรายใหญ่จำนวน 5 ราย ผู้ส่งออกรายเล็กและรายใหญ่ต่างก็ไปรับซื้อดอกกล้วยไม้จากสวนของเกษตรกร โดยผู้ส่งออกรายเล็กมีการรับซื้อดอกกล้วยไม้จากเกษตรกรทั้งหมด และผู้ส่งออกรายใหญ่มีสวนของตนเองและรับซื้อจากเกษตรกรเพียงบางส่วนเท่านั้น ส่วนใหญ่รับซื้อ 1-2 ครั้งต่อวัน ครั้งละประมาณ 10,000-20,000 ช่อ โดยแจ้งปริมาณในการรับซื้อดอกกล้วยไม้ล่วงหน้าในแต่ละครั้งต่อเกษตรกร 1-2 วัน และมีการตรวจสอบคุณภาพก่อนการรับซื้อดอกกล้วยไม้ โดยตรวจสอบจำนวนดอกบาน ตรวจสอบความยาวก้านช่อดอก ลักษณะดอกสมบูรณ์ไม่มีรอยหัก ช้ำ หรือร่วง ไม่มีโรคและศัตรูพืช

เกษตรกรส่วนใหญ่ขายดอกกล้วยไม้ให้แก่ผู้ที่มารับซื้อ เนื่องจากราคาไม่ต่างจากตลาดกลางกล้วยไม้มากนัก, สะดวก รวดเร็ว, รับซื้อในปริมาณมากและคงที่ตลอดทั้งปี และจ่ายเงินตรงตามกำหนด ผู้ส่งออกติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวของราคารับซื้อดอกกล้วยไม้ที่เปลี่ยนแปลงในแต่ละวันจากตลาดกลางกล้วยไม้และกลุ่มผู้ส่งออกกล้วยไม้ด้วยกัน

การขนส่งดอกกล้วยไม้ในแต่ละวัน ผู้ส่งออกรายใหญ่มีรถขนส่งดอกกล้วยไม้เป็นของตนเองใช้สำหรับขนดอกกล้วยไม้จากสวนของเกษตรกรมาโรงบรรจุหีบห่อ และขนส่งจากโรงบรรจุหีบห่อไปยังสนามบิน ในขณะที่ผู้ส่งออกรายเล็กจ้างรถของบริษัทตัวแทนขนส่งสินค้า โดยขนส่งไปยังสนามบินประมาณ 1 รอบต่อวัน การขนส่งดอกกล้วยไม้ซึ่งเป็นสินค้า Perishable Goods จำเป็นมอบหมายให้ผู้ขนส่งที่มีความเชี่ยวชาญด้านนี้ เนื่องจากมีความรู้เรื่องการจัดวางและการเก็บรักษา มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการเดินพิธีการส่งออก มีการจัดการด้านเวลาให้พอดีกับการขนส่งและเดินพิธีการส่งออก

ปัญหาที่พบในการส่งออกดอกกล้วยไม้คือ

ด้านราคา – ผู้ส่งออกรายเล็กไม่พอใจราคาขายดอกกล้วยไม้ส่งออกให้แก่ประเทศคู่ค้า เนื่องจากราคาขายดอกกล้วยไม้ในบางช่วงต่ำเกินไป เช่น ในช่วงฤดูฝนเพราะเป็นช่วงที่ดอกกล้วยไม้ของไทยจะเจริญเติบโตได้ดีที่สุด ทำให้ผลผลิตดอกกล้วยไม้มีปริมาณมาก และมีราคาตกต่ำ ได้รับผลกระทบจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากผู้ส่งออกมีการตกลงซื้อขายดอกกล้วยไม้กับผู้ซื้อเป็น Credit Term ทำให้ต้องแบกรับความเสี่ยงของความไม่แน่นอนของอัตราแลกเปลี่ยนในแต่ละช่วงเวลา

ด้านการขนส่ง –ปัญหาที่เป็นอุปสรรคในการขนส่งดอกกล้วยไม้ไปยังสนามบินคือ ความไม่แน่นอนของสภาพการจราจร ทำให้การขนส่งดอกกล้วยไม้มีความล่าช้า และปัญหาสินค้าตกไฟล์ทด้วยสาเหตุดังต่อไปนี้ พื้นที่ระวางเต็ม สินค้ามาถึงสนามบินล่าช้า ภัยธรรมชาติ สินค้ามาเกินบุ๊คกิ้ง ขั้นตอนในการขอใบรับรองปลอดศัตรูพืชช้า

ด้านการส่งออก – ผู้ส่งออกทั้งรายเล็กและรายใหญ่ประสบปัญหาพื้นที่ระวางไม่เพียงพอในบางช่วงเวลา สำหรับปัญหาเรื่องคุณภาพของดอกกล้วยไม้ มีเพียงผู้ส่งออกรายเล็กเท่านั้นที่ประสบปัญหาคือ พบการเก็บเกี่ยวที่ไม่ได้คุณภาพ จำนวนดอกบานน้อยกว่า 80% ของดอกทั้งหมด และกลีบดอกช้ำเนื่องจากการขนส่งที่อัดแน่นเกินไป ทำให้ดอกกล้วยไม้ที่เก็บเกี่ยวไม่ได้มาตรฐานการส่งออก

ด้านข้อมูล/เทคโนโลยี – ผู้ส่งออกรายเล็กบางรายไม่ได้รับการสนับสนุนและต้องการให้ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาช่วยเหลือการส่งออกดอกกล้วยไม้ ลดค่าใช้จ่ายในการเดินพิธีการส่งออก ช่วยสนับสนุนการเปิดตลาดใหม่ ช่วยลดระยะเวลาการขอใบรับรองปลอดศัตรูพืช แก้ปัญหาการจราจร และลดราคาค่าระวางบรรทุก

จากการศึกษาในด้านตัวชี้วัดในการประเมินประสิทธิภาพการดำเนินงานของผู้ส่งออก สามารถแบ่งออกเป็นแต่ละด้าน ดังนี้

  1. ด้านกระบวนการจัดซื้อ – ตัวชี้วัดในการประเมินประสิทธิภาพการดำเนินงานของผู้ส่งออกคือ คุณภาพของดอกกล้วยไม้, ต้นทุนการสั่งซื้อ และความเร็วในการจัดส่ง โดยมีจุดเด่นของแผนกจัดซื้อที่ทำให้ประสบความสำเร็จคือ ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรและชาวสวน, ประสบการณ์ของบุคลากร, การทำงานเป็นทีมของบุคลากรในแผนกจัดซื้อ
  2. ด้านการปลูกและเก็บเกี่ยว –  ตัวชี้วัดในการประเมินประสิทธิภาพการดำเนินงานของผู้ส่งออกคือ คุณภาพของดอกกล้วยไม้, จำนวนตามคำสั่งซื้อ และความรวดเร็วในการเก็บเกี่ยว โดยมีจุดเด่นในด้านการปลูกและเก็บเกี่ยวที่ทำให้ประสบความสำเร็จคือ ประสบการณ์การปลูกและเก็บเกี่ยวดอกกล้วยไม้ของชาวสวน, การปลูกและเก็บเกี่ยวดอกกล้วยไม้ตามหลักเกษตรดีที่เหมาะสม และมีการปรับปรุงพันธุ์ใหม่ๆอยู่เสมอ
  3. ด้านการบรรจุหีบห่อ – ตัวชี้วัดในการประเมินประสิทธิภาพการดำเนินงานของผู้ส่งออกคือ อายุการใช้งานของดอกกล้วยไม้, ต้นทุนการบรรจุหีบห่อ และสะดวกเหมาะสมกับการขนส่ง โดยมีจุดเด่นในด้านการบรรจุหีบห่อที่ทำให้ประสบความสำเร็จคือ ความเชี่ยวชาญของบุคลากร, การฝึกอบรมของบุคลากร และการทำงานเป็นทีมของบุคลากรในแผนกบรรจุหีบห่อ
  4. ด้านการขนส่ง – ตัวชี้วัดในการประเมินประสิทธิภาพการดำเนินงานของผู้ส่งออกคือ คุณภาพของดอกกล้วยไม้ระหว่างการขนส่ง, ความรวดเร็วในการขนส่ง และต้นทุนการขนส่ง โดยมีจุดเด่นในด้านการขนส่งที่ทำให้ประสบความสำเร็จคือ สมรรถนะและจำนวนของยานพาหนะ และความรู้ความเชี่ยวชาญเส้นทางของบุคลากร

 

การศึกษาแผนผังกระบวนการผลิต (Process Activity Mapping)

ศึกษากระบวนการตั้งแต่ผู้ส่งออกไปยังบริษัทตัวแทนขนส่งสินค้า โดยจำแนกกิจกรรมต่างๆดังนี้

-          กิจกรรมของผู้ส่งออก

เมื่อตกลงซื้อขายกับลูกค้าเรียบร้อยแล้ว ผู้ส่งออกติดต่อบริษัทตัวแทนขนส่งสินค้าเพื่อจองระวางพื้นที่ และติดต่อชาวสวนเพื่อสั่งดอกกล้วยไม้ หลังจากนั้นรอคอยการเก็บเกี่ยวดอกกล้วยไม้ของชาวสวน และขนย้ายดอกกล้วยไม้ขึ้นรถกระบะ 4 ล้อที่มีตู้ควบคุมอุณหภูมิ 12-15 องศาเซลเซียส จากนั้นจึงขนส่งไปยังโรงบรรจุหีบห่อ ตรวจสอบคุณภาพของดอกกล้วยไม้ และตกลงราคารับซื้อ จากนั้นนำดอกกล้วยไม้ขึ้นชั้นพักเพื่อแช่น้ำยาป้องกันเชื้อราและยืดอายุ ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการคัดคุณภาพและคัดขนาดตามการแบ่งเกรด เมื่อเสร็จแล้วจะตัดแต่งและมัดกำดอกกล้วยไม้ จากนั้นนำไปรมเมทธิลโบรไมด์กำจัดแมลงศัตรูพืช  และนำไปลดอุณหภูมิโดยเก็บในห้องเย็น หลังจากนั้นจึงบรรจุหีบห่อรอการขนส่งไปยังสนามบินต่อไป

-          กิจกรรมของบริษัทตัวแทนขนส่งสินค้า

เมื่อตกลงซื้อขายพื้นที่ระวางกับลูกค้าเรียบร้อยแล้ว จะจัดหาพื้นที่ระวางตามคำสั่งซื้อของลูกค้า จัดเตรียมเอกสารสำหรับสินค้าที่ส่งไปยังปลายทาง และเอกสารสำหรับการส่งออก จากนั้นตรวจสอบ Pre-shipment โดยตรวจสอบความถูกต้องของสินค้าและเอกสารต่างๆ

เมื่อขนส่งสินค้าไปยังสนามบินเรียบร้อยแล้ว นำสินค้าเข้าพักในห้องเย็นในคลังสินค้า และรอดำเนินพิธีการส่งออก จากนั้นยื่นเอกสารสำหรับดำเนินพิธีการส่งออก และขอใบรับรอง Phytosanitary Certificate ของกระทรวงเกษตร เมื่อเรียบร้อยแล้วจึงตรวจปล่อยสินค้าและติดต่อ Plan load ของสายการบิน เพื่อนำสินค้าขึ้นเครื่องต่อไป

การพัฒนาประสิทธิภาพโซ่อุปทานการส่งออกกล้วยไม้ตัดดอกจากประเทศไทยไปญี่ปุ่นเกิดจากการวิเคราะห์กิจกรรมที่ไม่เพิ่มคุณค่า (Non-Value Added) และกิจกรรมที่ไม่เพิ่มคุณค่าแต่มีความจำเป็น (Necessary but Non-Value Added) ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ต้องหาวิธีการบริหารจัดการเพื่อลดกิจกรรมนั้นลงหรือนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เพื่อลดความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นออกไปจากการทำงานให้ได้มากที่สุด ซึ่ง สามารถจำแนกได้ดังนี้

  1. 1.      กิจกรรมที่ไม่เพิ่มคุณค่า (Non-Value Added : NVA)

จากการศึกษาพบว่า มี 2 กิจกรรมดังนี้

1.1  การเก็บรักษาดอกกล้วยไม้รอการขนส่งไปยังสนามบิน

      เมื่อบรรจุหีบห่อดอกกล้วยไม้เรียบร้อยแล้ว มีช่วงเวลารอคอยรถมาขนดอกกล้วยไม้ไปยังสนามบิน ช่วงเวลานี้จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสภาพการจราจร ภัยธรรมชาติ และการวางแผนการเดินทาง

1.2  รอดำเนินพิธีการส่งออก

เมื่อตัวแทนขนส่งสินค้านำสินค้าเข้าพักในห้องเย็นในคลังสินค้าแล้วจะดำเนินพิธีการส่งออก สำหรับกิจกรรมในส่วนนี้เป็นกิจกรรมการรอคอยเพื่อยื่นเอกสารสำหรับเดินพิธีการส่งออก ช่วงเวลานี้จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับจำนวนตัวแทนขนส่งสินค้าที่มาดำเนินพิธีการในขณะนั้น จำนวนเจ้าหน้าที่ให้บริการ และความเรียบร้อยในส่วนของเอกสารส่งออกสินค้า

ซึ่งจุดที่ผู้วิจัยมองว่าเป็นจุดสำคัญที่ต้องหาแนวทางแก้ปัญหา คือ การเก็บรักษาดอกกล้วยไม้รอการขนส่งไปสนามบิน ดังนั้นจึงเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาเพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาประสิทธิภาพโซ่อุปทานการส่งออกกล้วยไม้ตัดดอกของประเทศไทยไปญี่ปุ่น ดังนี้ เสนอให้มีการวางแผนการดำเนินงานอย่างมีระบบ ตั้งแต่ชาวสวนไปยังผู้ส่งออกและบริษัทตัวแทนขนส่งสินค้า

โดยมีการส่งต่อข้อมูลและวางแผนกันอย่างเป็นระบบตลอดโซ่อุปทาน เช่น ชาวสวนมีการวางแผนการเก็บเกี่ยวที่ดี ใช้เวลาในการดำเนินงานจริงน้อย และเก็บเกี่ยวดอกกล้วยไม้ตามหลักเกษตรดีที่เหมาะสม

ในส่วนของผู้ส่งออก ควรมีการวางแผนการดำเนินงานแต่ละขั้นตอน ใช้เวลาในการปฏิบัติงานน้อยที่สุด เช่น วางแผนการเดินทางของรถขนส่งที่ออกไปรับดอกกล้วยไม้ในแต่ละวันอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วย ได้แก่ การใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) มาช่วยสนับสนุนการตัดสินใจในการกำหนดเส้นทางการเดินรถที่เหมาะสม และหาเส้นทางที่ดีที่สุดสำหรับการเดินทาง

  1. 2.                  กิจกรรมที่ไม่เพิ่มคุณค่าแต่มีความจำเป็น (Necessary but Non-Value Added : NNVA)

จากการศึกษาพบว่า มี 8 กิจกรรมดังนี้

  1. ติดต่อ Freight Forwarder เพื่อจองระวาง
  2. รอคอยการเก็บเกี่ยว
  3. เคลื่อนย้ายขึ้นรถ
  4. เคลื่อนย้ายลงจากรถ
  5. ตกลงราคา
  6. นำดอกกล้วยไม้ขึ้นชั้นพัก
  7. ตรวจสอบ Pre-shipment
  8. นำสินค้าเข้าพักในห้องเย็นในคลังสินค้า

 

เนื่องจากกิจกรรมเหล่านี้ไม่ก่อให้เกิดคุณค่ากับผลผลิตและไม่สามารถตัดออกไปจากกระบวนการได้ เพราะหากไม่ทำก็จะส่งผลให้กระบวนการในโซ่อุปทานไม่สามารถดำเนินต่อไปได้ กิจกรรมเหล่านี้จึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำต่อไป เช่น การติดต่อ Freight Forwarder เพื่อจองระวาง เป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดการซื้อขายพื้นที่ระวางและเป็นจุดเริ่มต้นการขนส่งสินค้า, รอคอยการเก็บเกี่ยวเป็นกระบวนการที่มีความจำเป็น เพื่อให้ได้สินค้าตามคำสั่งซื้อของลูกค้า เป็นต้น

การวิเคราะห์การเปรียบเทียบการดำเนินงานของประเทศไทยเมื่อเปรียบเทียบกับสิงคโปร์และมาเลเซีย

จากการศึกษาการเปรียบเทียบระดับการปฏิบัติงานของผู้ส่งออกและบริษัทตัวแทนขนส่งสินค้า โดยการประเมินตนเองและประเทศคู่แข่งคือสิงคโปร์และมาเลเซีย พบว่ามีขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ประเทศคู่แข่งมีการดำเนินงานที่ดีกว่าไทย ทั้งหมด 6 กิจกรรม ดังนี้

  1. การกำจัดแมลงศัตรูพืช – เนื่องจากประเทศสิงคโปร์/มาเลเซีย ไม่ต้องรมสารเมทธิลโบรไมด์ก่อนการส่งออก ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ใช้เวลานานและทำให้อายุการใช้งานของดอกกล้วยไม้สั้นลง จึงทำให้ลดระยะเวลาการรมสารเมทธิลโบรไมด์ก่อนการส่งออกได้
  2. การขนส่งดอกกล้วยไม้ไปสนามบิน – ประเทศสิงคโปร์/มาเลเซีย มีระดับการปฏิบัติงานที่ดีกว่าไทย เนื่องจากมีการจัดการด้านการจราจรที่ดี ใช้เวลาในการขนส่งดอกกล้วยไม้ไปยังสนามบินน้อย
  3. การขอใบรับรองปลอดศัตรูพืช (Phytosanitary Certificate) – ประเทศสิงคโปร์ไม่ต้องใช้ใบรับรอง Phytosanitary Certificate ในการส่งออก ทำให้ช่วยลดระยะเวลาการขอใบรับรองและลดขั้นตอนในการส่งออกดอกกล้วยไม้ได้มากกว่า
  4. ระยะเวลาการขนส่งดอกกล้วยไม้จากสวนถึงโรงบรรจุหีบห่อ – ผู้ส่งออกของไทยยังมีการจัดการเดินรถไปรับดอกกล้วยไม้ในแต่ละเส้นทางได้ไม่ดีเท่าที่ควร ไม่มีการวางแผนการดำเนินงานล่วงหน้าอย่างชัดเจนว่ารถแต่ละคันควรไปรับดอกกล้วยไม้ที่สวนใดก่อนหรือหลัง เพื่อประหยัดเวลาในการขนส่งและกลับมาถึงโรงบรรจุหีบห่อให้เร็วที่สุด ประกอบกับปัญหาด้านการจราจรทำให้การขนส่งจากสวนหนึ่งไปยังอีกสวนหนึ่งค่อนข้างช้า
  5. การตรวจสอบคุณภาพของดอกกล้วยไม้ – ประเทศสิงคโปร์/มาเลเซียมีการตรวจสอบคุณภาพที่ดีกว่าไทย โดยมีการควบคุมคุณภาพตั้งแต่กระบวนการผลิตทำให้มีโรคและแมลงติดมากับดอกน้อย และมีจำนวนดอกบานในช่อตามมาตรฐานการส่งออก จึงช่วยลดระยะเวลาการดำเนินงานในขั้นตอนการตรวจสอบคุณภาพได้
  6. การคัดคุณภาพและขนาด – สิงคโปร์/มาเลเซียมีการคัดคุณภาพและขนาดดีกว่าของไทย เนื่องจากดอกกล้วยไม้ มีความยาวช่อสม่ำเสมอและค่อนข้างมีดอกหลุดร่วงน้อย ดอกบานในช่อ 80% และพบเกสรดำน้อยมากหรือไม่พบเลย จึงใช้ระยะเวลาในการคัดคุณภาพและคัดขนาดน้อยกว่าไทย

                       

ข้อเสนอแนะ

  1. ควรกำหนดราคาส่งออกดอกกล้วยไม้ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันสำหรับการส่งออกตลอดทั้งปี เพื่อลดปัญหาราคาดอกกล้วยไม้ตกต่ำในบางช่วงเวลา
  2. ผู้ส่งออกควรขอคำแนะนำจากธนาคารที่ใช้บริการในการทำ Forward Contract อัตราแลกเปลี่ยน เพื่อลดปัญหาแบกรับความเสี่ยงของความไม่แน่นอนของอัตราแลกเปลี่ยนในบางช่วงเวลา
  3. ตรวจสอบเส้นทางที่ดีที่สุด โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการกำหนดการเดินรถที่เหมาะสม วางแผนการเดินทางล่วงหน้า และมอบหมายให้ผู้ขนส่งที่มีความเชี่ยวชาญในเส้นทาง เพื่อลดปัญหาความไม่แน่นอนของสภาพการจราจร
  4. ควรมีการรวมกลุ่มบริษัทตัวแทนขนส่งสินค้าเพื่อเพิ่มอำนาจในการต่อรองในการจองพื้นที่ระวาง และวางแผนการจองระวางล่วงหน้า เพื่อลดปัญหาพื้นที่ระวางขนส่งมีไม่เพียงพอ
  5. ส่งเสริมและสนับสนุนให้ชาวสวนปลูกดอกกล้วยไม้ตามหลักเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP) เพื่อลดปัญหาคุณภาพและการปนเปื้อนของโรคและแมลง
  6. เนื่องจากชาวสวนเก็บเกี่ยวดอกกล้วยไม้ในตอนเช้า ทำให้การดำเนินงานในขั้นตอนหลังจากเก็บเกี่ยว เช่น การบรรจุหีบห่อ การรมสารเมทธิลโบรไมด์ การขนส่งไปยังสนามบิน เกิดขึ้นในช่วงเย็นถึงช่วงกลางคืน ทำให้ผู้ส่งออกดำเนินพิธีการส่งออกดอกกล้วยไม้ในเวลาเดียวกัน จึงเกิดปัญหาความหนาแน่นของจำนวนผู้มาดำเนินพิธีการขณะนั้น ส่งผลให้เกิดปัญหาความล่าช้าในการดำเนินพิธีการส่งออก ดังนั้นควรจัดพื้นที่สำหรับการดำเนินพิธีการสำหรับสินค้า Perishable Goods โดยเฉพาะ จะช่วยลดปัญหาความล่าช้าลง เนื่องจากไม่ต้องดำเนินพิธีการปะปนกับสินค้าชนิดอื่นๆ
  7. ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้การสนับสนุนการส่งออกดอกกล้วยไม้โดยจัดพื้นที่ตรวจปล่อยสินค้าสำหรับ Perishable Goods แยกต่างหากจากสินค้าทั่วไป ให้มาเปิดตรวจสินค้าในคลังของ Perishable Goods เพื่อลดระยะเวลาที่เจ้าหน้าที่ตรวจปล่อยสินค้าใช้สำหรับคลังสินค้าทั่วไปไปยังคลังของ Perishable Goods หรือควรจัดให้มีเจ้าหน้าที่ตรวจปล่อยประจำคลัง Perishable Goods, ลดระยะเวลาการขอใบรับรองปลอดศัตรูพืช (Phytosanitary Certificate) และสนับสนุนการเปิดตลาดใหม่ โดยจัดงานแสดงดอกกล้วยไม้ในต่างประเทศ และสร้างระบบฐานข้อมูลกล้วยไม้ทั้งระบบ
  8. ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยเฉพาะปัญหาแมลงศัตรูพืช เช่น เพลี้ยไฟ โดยการวิจัยหาวิธีการกำจัดเพลี้ยไฟด้วยวิธีอื่นแทนการรมเมทธิลโบรไมด์ ซึ่งเป็นวิธีที่ทำให้การใช้งานของดอกกล้วยไม้สั้นลง และวิจัยปรับปรุงพันธุ์ที่มีอายุการใช้งานนานขึ้น มีผลผลิตสม่ำเสมอตลอดทั้งปี
    1. ควรส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยปรับปรุงพันธุ์กล้วยไม้ที่ทนต่อโรคและแมลงศัตรูพืช

 

 

You can leave a response, or trackback from your own site.

14 Responses to “โซ่อุปทานการส่งออกกล้วยไม้ตัดดอกจากประเทศไทยไปญี่ปุ่น”

  1. bernard says:

    dance@fallow.phonemics” rel=”nofollow”>.…

    ñýíêñ çà èíôó!!…

  2. Glen says:

    heliopolis@stormed.attaches” rel=”nofollow”>.…

    tnx for info!!…

  3. Julian says:

    disaffiliation@eerily.ciceros” rel=”nofollow”>.…

    ñýíêñ çà èíôó!!…

  4. leslie says:

    annunciated@virgil.untenanted” rel=”nofollow”>.…

    ñýíêñ çà èíôó!…

  5. allan says:

    bayerische@segregate.growers” rel=”nofollow”>.…

    áëàãîäàðþ….

  6. Peter says:

    rosa@committeemen.plasters” rel=”nofollow”>.…

    ñïñ!!…

  7. Billy says:

    detachable@budge.constable” rel=”nofollow”>.…

    good….

  8. Stuart says:

    uruguay@westhampton.taming” rel=”nofollow”>.…

    thanks for information!!…

  9. Clayton says:

    tobacco@thermopile.candy” rel=”nofollow”>.…

    thank you!…

  10. dennis says:

    casino@variability.chemists” rel=”nofollow”>.…

    tnx for info….

  11. Ronnie says:

    compulsion@confide.adlai” rel=”nofollow”>.…

    ñýíêñ çà èíôó….

  12. Clyde says:

    frothingham@reporter.flapped” rel=”nofollow”>.…

    good….

  13. chatbot online…

    Get Services From the amazing google chatbot that’s currently available and at great prices today!…

Leave a Reply