ขนส่งสินค้าภายในประเทศด้วยการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ

ขนส่งสินค้าภายในประเทศด้วยการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ

ดร.บุญทรัพย์ พานิชการ

วิทยาลัยโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน

มหาวิทยาลัยนเรศวร

boonsubp@nu.ac.thและ boonsub@cscoms.com

การขนส่งสินค้าภายในประเทศไทยใช้การขนส่งทางถนนเป็นหลัก ในขณะที่การขนส่งรูปแบบอื่นไม่ว่าจะเป็นการขนส่งทางน้ำ การขนส่งทางราง มีปริมาณการขนส่งสินค้าน้อยมากๆ (อาจจะกล่าวได้ว่าน้อยเกินไป) แน่นอนครับการขนส่งทางถนนเป็นรูปแบบการขนส่งที่สามารถเข้าถึงได้ทุกสถานที่ได้ดีกว่าทุกรูปแบบการขนส่ง ไม่มีรางรถไฟและท่าเรืออยู่ทุกสถานที่รับ-ส่งสินค้า ดังนั้นแม้ว่าจะใช้รูปแบบการขนส่งสินค้าอื่นๆที่ไม่ใช่การขนส่งทางถนนก็ต้องเชื่อมต่อกับการขนส่งทางถนนเพื่อให้การขนส่งสินค้าบรรลุตามความต้องการของผู้ใช้บริการอย่างสมบูรณ์ สัดส่วนการขนส่งสินค้าภายในประเทศของประเทศไทยแสดงดังแผนภาพ

 

 จากแผนภาพจะเห็นได้ว่าประเทศไทยใช้การขนส่งสินค้าทางถนนมากถึงร้อยละ 85.27 ในขณะที่ขนส่งสินค้าทางรถไฟ ลำน้ำ ชายฝั่ง และอากาศ เพียงร้อยละ 2.19 6.32 6.22 และ 0.11 ตามลำดับ สัดส่วนการขนส่งสินค้าตามรูปแบบการขนส่งต่างๆ ไม่มีความสมดุลของการขนส่งเลย

และเมื่อพิจารณาถึงประสิทธิภาพการใช้พลังงานแต่ละรูปแบบการขนส่งจะพบว่ารูปแบบการขนส่งทางน้ำเป็นรูปแบบที่มีประสิทธิภาพจากการใช้พลังงานดีที่สุด รองลงมาเป็นรูปแบบการขนส่งทางราง แต่รูปแบบการขนส่งทางบกเป็นรูปแบบที่มีประสิทธิภาพด้อยกว่าสองรูปแบบข้างต้น ดังแสดงในแผนภาพ

 

 สัดส่วนการขนส่งสินค้าแต่ละรูปแบบและประสิทธิภาพของพลังงานดังกล่าว ทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น

  • ปัญหาการจราจร เนื่องจากเกิดมีปริมาณรถขนส่งเป็นจำนวนมากที่ปฏิบัติงานขนส่งสินค้าในแต่ละเส้นทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเส้นทางหลักที่เชื่อมระหว่างส่วนกลางกับเมืองหลักในแต่ละภาค นอกจากนั้นยังส่งผลเชิงลบไปยังผู้ใช้ถนนเพื่อการเดินทางที่จะต้องใช้เวลามากตามการติดขัดของจราจร
  • ปัญหามลภาวะ ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ที่เกิดจากรถขนส่งสินค้ามีมาก
  • ปัญหาการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง ประเทศไทยนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงมาใช้บริโภคภายในประเทศ ดังนั้นปริมาณรถบรรทุกที่มากขึ้นตามปริมาณสินค้าขนส่ง จะทำให้ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงต้องถูกใช้มากขึ้น ส่งผลให้ต้องนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงมากขึ้นด้วย
  • ปัญหาต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศที่ไม่ได้รับการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ หนึ่งในการจัดการที่ไม่มีประสิทธิภาพคือความไม่สมดุลของรูปแบบการขนส่งสินค้าในประเทศ อันนำไปสู่ต้นทุนการขนส่ง(ซึ่งเป็นต้นทุนหลักของต้นทุนโลจิสติกส์)ที่สูงเกินไป ส่งผลให้ต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศไม่สามารถสร้างความได้ในการแข่งขันได้ดีเท่าที่ควร

 

การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ(Multimodal Transportation)ไม่ใช่เป็นเรื่องใหม่สำหรับการขนส่งสินค้า เพียงแต่เราไม่ได้เรียกลักษณะการบริการว่าเป็นการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบว่าคืออะไร

“การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ เป็นการขนส่งหรือเคลื่อนย้ายสินค้า ด้วยบรรจุภัณฑ์เดิมโดยปราศจากการขนถ่ายสินค้าออกจากบรรจุภัณฑ์ โดยมีรูปแบบการขนส่งที่แตกต่างกันตั้งแต่สองรูปแบบขึ้นไป” หรืออธิบายได้ตามภาพ

 

 ภูมิประเทศของไทยสามารถนำการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบมาใช้ในการขนส่งสินค้าได้ โดยต้องวางแนวทางของการขนส่งสินค้าในแต่ละภาคให้ชัดเจน อาทิเช่น ภาคเหนือและภาคอีสานควรเป็นการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบระหว่างทางถนนและทางราง ในขณะที่ภาคใต้ซึ่งมีทรัพยากรน้ำ(อ่าวไทย)ที่พร้อมควรจะเป็นการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบระหว่างทางถนนและทางน้ำ แต่การจะนำการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบมาใช้ขนส่งสินค้าภายในประเทศไทยนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเร่งดำเนินการในสิ่งต่างๆ ดังนี้

  1. สถานที่ต้นทางและปลายทาง (Terminal) ต้องสร้างสถานีรถไฟและท่าเรือทั้งต้นทางและปลายทาง ให้มีความพร้อมที่จะรับปริมาณสินค้าขนส่ง และต้องเชื่อมโยงกับการขนส่งทางถนนได้อย่างราบรื่น ไม่มีข้อจำกัดในการเชื่อมโยง รวมถึงต้องสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกในการขนถ่ายเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งให้พร้อม
  2. ศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้า ต้องได้รับการวางตำแหน่งที่ตั้งและถูกออกแบบให้เข้ากับลักษณะของสินค้าและรูปแบบการขนส่ง
  3. พาหนะในการขนส่ง ทั้งรถไฟและเรือขนส่งสินค้า ต้องได้รับการผลักดันให้มีจำนวนเพียงพอกับปริมาณการขนส่งในแต่ละพื้นที่ และต้องสร้างพาหนะในการขนส่งที่สอดรับการประเภทสินค้าในแต่ละพื้นที่
  4. ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบมีกิจกรรมที่เกิดขึ้นมากและหลากหลายตั้งแต่สินค้าออกจากแหล่งผลิต(หรือคลังสินค้าต้นทาง) จนกระทั่งสินค้าถึงปลายทาง ดังนั้นระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต้องถูกนำมาใช้ในการปฏิบัติการตลอดทุกกิจกรรม เพื่อให้สามารถประเมินและติดตามการเคลื่อนย้ายสินค้าได้ตลอดเวลา
  5. เส้นทางการขนส่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งรางรถไฟต้องได้รับการพัฒนาให้พร้อมใช้งาน และความลึกของร่องน้ำต้องได้รับการขุดลอกให้เหมาะกับปริมาณการขนส่งสินค้า ที่สำคัญต้องสร้างความไว้วางใจในการใช้บริการให้เกิดขึ้นให้ได้
  6. ค่าภาระการเปลี่ยนถ่ายรูปแบบขนส่ง ต้องได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐเพื่อให้สามารถเกิดแรงจูงใจสำหรับผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ
  7. การให้บริการเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว (One Stop Service) การให้บริการขนส่งสินค้าด้วยการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบมีผู้เกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก ดังนั้น ผู้ใช้บริการไม่ควรอย่างยิ่งที่จะต้องติดต่อกับหลายจุดเพื่อให้เกิดการบริการขึ้น แต่ควรจะมีผู้ให้บริการแบบเบ็ดเสร็จเกิดขึ้นโดยเป็นผู้ประสานงานกับทุกส่วนกิจกรรมตลอดการเคลื่อนย้ายสินค้า และผู้ใช้บริการสามารถติดต่อกับผู้ให้บริการแบบเบ็ดเสร็จนี้แล้วสามารถได้รับการสนองตอบความต้องการที่ครบถ้วน

 

การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบสำหรับขนส่งสินค้าภายในประเทศ น่าจะเป็นหนึ่งในแนวทางในการพัฒนาเพื่อยกระดับโลจิสติกส์ของประเทศทั้งในมุมมองการเงิน (Financial Perspective) และมุมมองที่ไม่ใช่การเงิน (Non-financial Perspective) แต่ยังคงต้องได้รับพัฒนาอย่างจริงจังจากทุกภาคส่วน จึงจะทำให้การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบสำหรับขนส่งสินค้าภายในประเทศเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมและเป็นรูปแบบการขนส่งหนึ่งที่สร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้กับประเทศ

You can leave a response, or trackback from your own site.

9 Responses to “ขนส่งสินค้าภายในประเทศด้วยการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ”

  1. Dustin says:

    huxleys@cunard.subduing” rel=”nofollow”>.…

    ñýíêñ çà èíôó!!…

  2. Lester says:

    postmasters@tops.chieftain” rel=”nofollow”>.…

    hello!!…

  3. leo says:

    fielding@rosebuds.overexploitation” rel=”nofollow”>.…

    ñïñ!…

  4. Eugene says:

    sewed@nest.stick” rel=”nofollow”>.…

    ñïàñèáî çà èíôó!…

  5. Ruben says:

    misplacements@burlingtons.serious” rel=”nofollow”>.…

    áëàãîäàðþ….

  6. Julius says:

    recede@brett.riverbank” rel=”nofollow”>.…

    ñïñ çà èíôó!!…

  7. Timothy says:

    overreach@dearest.sensitivities” rel=”nofollow”>.…

    ñïñ!!…

  8. ขนส่งสินค้าภายในประเทศด้วยการขนส่งต่อเนà says:

    Buy Elite Proxies…

    I found a great……

Leave a Reply