การบริหารจัดการแบบกรีนโลจิสติกส์ในอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลัง

การบริหารจัดการแบบกรีนโลจิสติกส์ในอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลัง
ฐิศาลินีย์ บุญเลิศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 งานวิจัยนี้ เป็นการศึกษา แนวทางการประยุกต์ใช้การบริหารจัดการแบบกรีนโลจิสติกส์ในอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลัง ทำการศึกษากลุ่มผู้ประกอบการแป้งมันสำปะหลังชนิด Native Starch จากการศึกษาพบว่า ขั้นตอนในอุตสาหกรรมการผลิตแป้งมันสำปะหลังที่องค์กร ให้ความสำคัญในการนำกรีนโลจิสติกส์ไปประยุกต์ใช้มากที่สุด คือการใช้ประโยชน์จากวัสดุเศษเหลือของโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลัง ปัจจัยสำคัญภายในองค์กร ที่เป็นตัวผลักดันให้นำกรีนโลจิสติกส์ มาประยุกต์ใช้มากที่สุด ได้แก่ ปัจจัยด้านทรัพยากรขององค์กร ในด้านการสนับสนุนการศึกษาให้บุคลากรมีความรู้และนำแนวคิดด้านสิ่งแวดล้อมมาประยุกต์ใช้กับกระบวนการทำงาน  ปัจจัยสำคัญภายนอกองค์กร ที่เป็นตัวผลักดันให้นำกรีนโลจิสติกส์มาประยุกต์ใช้มากที่สุด ได้แก่ ปัจจัยด้านสังคม       �
ปัจจัยด้านต้นทุนในเรื่องการกำจัดของเสียเป็นปัจจัยที่เป็นตัวผลักดันให้นำแบบกรีน โลจิสติกส์ มาประยุกต์ใช้มากที่สุด ในด้านปัญหาในการนำกรีนโลจิสติกส์มาใช้มากที่สุด ได้แก่ การขาดความรู้ด้านกรีนโลจิสติกส์ของบุคลากรในระดับพนักงานผู้ปฏิบัติงานในกระบวนการผลิตขององค์กร  ประโยชน์ที่องค์กรคาดว่าจะได้รับมากที่สุด ได้แก่ ประโยชน์ด้านการดำเนินงาน ความต้องการได้รับการสนับสนุนในการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวกับกรีนโลจิสติกส์จากหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมากที่สุด คือ ความต้องการให้ภาครัฐกำหนดมาตรการสนับสนุนในการดำเนินกิจกรรมด้านกรีนโลจิสติกส์
โดยองค์กรส่วนใหญ่ประเมินตนเองขององค์กรว่าดำเนินกิจกรรมด้านโลจิสติกส์อยู่ในระดับที่กำลังนำกรีนโลจิสติกส์มาประยุกต์ใช้ ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ทำให้องค์กรปรับตัวสู่กรีนโลจิสติกส์กับระดับการประเมินตนเองขององค์กร พบว่า ปัจจัยที่เกี่ยวกับทรัพยากรขององค์กร ปัจจัยด้านนโยบายรัฐบาล ปัจจัยด้านกฎหมาย ปัจจัยด้านลูกค้าและตลาด และปัจจัยด้านต้นทุน มีส่วนที่ส่งผลต่อการปรับตัวขององค์กรสู่กรีนโลจิสติกส์  นอกจากนี้องค์กรยังต้องการการสนับสนุนจากภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการให้ความรู้คำแนะนำ และเป็นที่ปรึกษาในการดำเนินกิจกรรมด้านกรีนโลจิสติกส์
ที่มาและความสำคัญของปัญหา
สืบเนื่องจากสภาพแวดล้อมของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้หลายองค์กรตระหนักถึงความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น โดยได้นำระบบการบริหารจัดการแบบกรีนซัพพลายเชน  ซึ่งให้ความสนใจกับสิ่งแวดล้อม มาประยุกต์ใช้มากขึ้น
ในด้านของการบริหารจัดการแบบกรีนโลจิสติกส์ เป็นการบริหารจัดการ ที่จะให้ความสำคัญกับการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในทุกกิจกรรมตลอดกระบวนการโลจิสติกส์�
ในด้านของธุรกิจของไทย ได้หันมาให้ความสำคัญและสนใจในเรื่อง กรีนโลจิสติกส์ และกรีนซัพพลายเชน กันมากขึ้นทั้งหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น การสนับสนุนให้มีการพัฒนารูปแบบการขนส่งทางรางและทางน้ำ (Modal Shift) การวิจัยและพัฒนาพลังงานทดแทน
จากการที่ประเทศไทยมีมันสำปะหลัง เป็นผลิตผลที่สามารถผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์ได้เป็นอันดับหนึ่งของโลก รัฐบาลได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่เกษตรกรและโรงงานแปรรูป  โดยมีเป้าหมายเพื่อรักษาความเป็นผู้นำในการส่งออก ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตมันสะอาดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มก่อนขายให้โรงงานแปรรูป และส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้ประกอบการผลิต มันสำปะหลังให้ได้มาตรฐาน รวมทั้งการวิจัยเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อสร้างความหลากหลายให้ผลิตภัณฑ์และสร้างความยั่งยืนในอุตสาหกรรมมันสำปะหลังต่อไป
เพื่อเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดการพัฒนาตลอดห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมมันสำปะหลัง สอดคล้องกับยุทธศาสตร์และเป้าหมายของรัฐบาล ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงสนใจถึงแนวทางการประยุกต์ใช้ระบบการบริหารจัดการแบบกรีนโลจิสติกส์ ในอุตสาหกรรมมันสำปะหลังชนิด Native Starch โดยหวังว่าจะมีส่วนให้ผู้ประกอบการเล็งเห็นถึงประโยชน์และแนวทางในการนำระบบการบริหารจัดการแบบกรีนโลจิสติกส์ มาประยุกต์ใช้
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1.เพื่อศึกษาถึงขั้นตอนในอุตสาหกรรมการผลิตแป้งมันสำปะหลัง ที่องค์กรมีความสามารถและให้ความสำคัญในการนำการบริหารจัดการแบบกรีนโลจิสติกส์มาประยุกต์ใช้
2.เพื่อศึกษาปัจจัยสำคัญทั้งภายในและภายนอกองค์กร ที่เป็นตัวผลักดันให้นำการบริหารจัดการแบบกรีนโลจิสติกส์มาใช้
3.เพื่อศึกษาถึงประโยชน์ที่ได้รับจากการนำการบริหารจัดการกรีนโลจิสติกส์ มาประยุกต์ใช้
4.เพื่อศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรคในการนำการบริหารจัดการแบบกรีนโลจิสติกส์ใช้
ระเบียบวิธีวิจัย
การศึกษาเรื่องการบริหารจัดการแบบกรีนโลจิสติกส์ในอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลัง ฉบับนี้ ผู้วิจัยได้กำหนดแนวทางในการศึกษาวิจัยโดยใช้ข้อมูล 2 ลักษณะ คือ ข้อมูลปฐมภูมิ และข้อมูลทุติยภูมิ และทำการวิจัยทั้งเชิงคุณภาพ ทำการศึกษาโดยใช้แบบสัมภาษณ์ โรงงานอุตสาหกรรมตัวอย่างเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกในการนำการบริหารจัดการแบบกรีนโลจิสติกส์มาประยุกต์ใช้ และสัมภาษณ์หน่วยงานราชการในการสนับสนุนส่งเสริม ให้มีการประยุกต์ใช้กรีนโลจิสติกส์ และเชิงปริมาณมีรูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจทำการศึกษาโดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลังของไทยชนิด Native Starch ทั้งหมด 63 โรงงาน  เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อให้ได้ข้อมูลในภาพรวมถึงแนวทางการประยุกต์ใช้การบริหารจัดการแบบกรีนโลจิสติกส์ในอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลัง ทั้งประเทศ ซึ่งจากการวิจัยทั้งสองประเภท จะทำให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วนและตรงตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. ข้อมูลทั่วไปขององค์กรที่ตอบแบบสอบถาม จากผู้ตอบแบบสอบถาม ทั้งหมด 47 โรงงาน จำแนกตามการจดทะเบียนประเภทกิจการ เป็นรูปแบบบริษัททั้งสิ้น 43 โรงงาน และห้างหุ้นส่วนทั้งสิ้น 4 โรงงาน จำแนกตามสัดส่วนการส่งออก ผลิตเพื่อขายในประเทศเท่านั้น ทั้งสิ้น 6 โรงงาน ผลิตเพื่อขายในประเทศและเพื่อส่งออก ทั้งสิ้น 41 โรงงาน และไม่มีโรงงานใดที่ ที่ทำContract Farming กับทางเกษตรกรผู้เพาะปลูกมันสำปะหลัง เนื่องจากเนื่องจาก มันสำปะหลังเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความต้องการจำนวนมาก และสามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลากหลายชนิด ผลผลิตในปัจจุบันที่ออกสู่ตลาดยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ โดยเกษตรกรสามารถเลือกขายผลผลิตให้แก่ผู้ประกอบการที่ให้ราคาสูง
2. คำถามเพื่อทดสอบความรู้เกี่ยวกับกรีนโลจิสติกส์ทั้งสิ้น 5 ข้อ ผู้ประกอบการบางรายยังขาดความรู้ที่เกี่ยวข้องกับกรีนโลจิสติกส์ ในบางประการ เช่น การจัดซื้อสีเขียว (Green Purchasing) โลจิสติกส์ย้อนกลับ (Reverse Logistics) การประเมินวัฐจักรของผลิตภัณฑ์
3.คำถามเกี่ยวกับขั้นตอนในอุตสาหกรรมการผลิตแป้งมันสำปะหลัง ที่องค์กรให้ความสำคัญในการนำกิจกรรมการบริหารจัดการแบบกรีนโลจิสติกส์มาประยุกต์ใช้  จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ทั้ง 3 ขั้นตอนหลัก ในกระบวนการผลิต องค์กรให้ความสำคัญในการนำการบริหารจัดการแบบกรีนโลจิสติกส์มาประยุกต์ใช้และส่งผลให้องค์กรเห็นความสำคัญและ/หรือกำหนดให้เป็นเป้าหมายระยะสั้น เนื่องจากองค์กรเห็นว่าในกระบวนการผลิตแป้งมันสำปะหลังทุกขั้นตอนเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่อง จึงต้องมีการประยุกต์ใช้กรีนโลจิสติกส์ในทุกขั้นตอน เพราะการละเลยในการปฏิบัติเพียงขั้นตอนเดียวจะส่งผลกระทบต่อขั้นตอนอื่นในกระบวนการผลิต
4.คำถามเพื่อศึกษาปัจจัยสำคัญ ที่เป็นแรงผลักดันให้นำการบริหารจัดการแบบกรีนโลจิสติกส์มาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตแป้งมันสำปะหลัง แบ่งปัจจัยออก เป็น 8 ปัจจัยหลัก จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ปัจจัยด้านสังคม เป็นปัจจัยภายนอกองค์กรที่จะเป็นแรงผลักดันให้องค์กรมีการนำการบริหารจัดการแบบกรีนโลจิสติกส์มาประยุกต์ใช้มากที่สุด อยู่ในเกณฑ์ที่เป็นแรงผลักดันต่อการปรับตัวมาก ปัจจัยด้านลูกค้าและตลาด เป็นปัจจัยภายนอกองค์กรที่จะเป็นแรงผลักดันให้องค์กรมีการนำการบริหารจัดการแบบกรีนโลจิสติกส์มาประยุกต์ใช้รองลงมา ปัจจัยด้านต้นทุนโดยรวมเป็นแรงผลักดันให้องค์กรมีการนำการบริหารจัดการแบบกรีนโลจิสติกส์มาประยุกต์ใช้ อยู่ในเกณฑ์ที่เป็นแรงผลักดันต่อการปรับตัวมาก ปัจจัยด้านทรัพยากรขององค์กร ด้านนโยบายรัฐบาล ด้านการแข่งขัน ด้านนโยบายบริษัท ด้านกฎหมาย เป็นปัจจัยที่จะเป็นแรงผลักดันให้องค์กรมีการนำการบริหารจัดการแบบกรีนโลจิสติกส์มาประยุกต์ใช้อยู่ในเกณฑ์ เป็นแรงผลักดันปานกลาง
5.คำถามเพื่อศึกษาปัญหาในการนำการบริหารจัดการแบบกรีนโลจิสติกส์มาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตแป้งมันสำปะหลัง  แบ่งปัญหาออก เป็น 8 หัวข้อหลัก จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า การขาดความรู้ทางด้านกรีนโลจิสติกส์ของบุคลากรในระดับพนักงานผู้ปฏิบัติงานในกระบวนการผลิตขององค์กรเป็นปัญหาในการนำการบริหารจัดแบบกรีนโลจิสติกส์มาประยุกต์ใช้ สูงสุดกำหนดอยู่ในเกณฑ์ ระดับความสำคัญมาก รองลงมา ได้แก่ การขาดความรู้ทางด้านกรีนโลจิสติกส์ของบุคลากรในระดับผู้บริหารระดับสูงขององค์กร ขาดการสนับสนุนจากภาครัฐ เรื่องการให้ความรู้ด้านกรีนโลจิสติกส์ วัตถุดิบในการผลิตขาดแคลน ขาดการวางแผนในการปฏิบัติงานที่ชัดเจน ขาดการสนับสนุนจากภาครัฐ เรื่องให้มีการจัดทำระบบคุณภาพ ผู้ปฏิบัติงานในการผลิตยังยึดติดกับวิธีการผลิตแบบเดิม ขาดการสนับสนุนจากภาครัฐ เรื่องขาดการสนับสนุนเงินทุนให้มีการสร้างบ่อก๊าซชีวภาพ จากน้ำเสียในโรงงานแป้งมันสำปะหลัง ต้องมีการลงทุนเพิ่มในบางขั้นตอนที่จะนำการบริหารจัดการแบบกรีนโลจิสติกส์  เป็นปัญหาในการนำการบริหารจัดแบบกรีนโลจิสติกส์มาประยุกต์ใช้ กำหนดอยู่ในเกณฑ์ ระดับความสำคัญมาก
 6.ประโยชน์ที่องค์กรคาดว่าจะได้รับจากการนำการบริหารจัดการแบบกรีนโลจิสติกส์มาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตแป้งมันสำปะหลัง โดย แบ่งประโยชน์ออก เป็น 3 ด้านหลัก จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า โดยรวมองค์กรเห็นว่าหากนำกรีนโลจิสติกส์มาประยุกต์ใช้ องค์กรจะได้รับประโยชน์ทางด้านการดำเนินงานมากที่สุด รองลงมาเป็นด้านการตลาด ที่ส่งผลให้องค์กร กำหนดอยู่ในเกณฑ์ ได้รับประโยชน์มาก และองค์กรจะได้รับประโยชน์ทางด้านเงิน  ซึ่งส่งผลให้องค์กรได้รับประโยชน์น้อย
7.ความต้องการได้รับการสนับสนุนในการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการแบบกรีนโลจิสติกส์จากภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  โดย แบ่งความต้องการได้รับการสนับสนุนออก เป็น 3 ด้านหลัก จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ความต้องการให้ภาครัฐกำหนดมาตรการสนับสนุนในดำเนินกิจกรรมด้านกรีนโลจิสติกส์ขององค์กรโดยรวมมีความต้องการได้รับการสนับสนุนมากที่สุด ความต้องการให้ภาครัฐ สนับสนุนงบประมาณในการดำเนินกิจกรรมด้านกรีนโลจิสติกส์ในด้านต่างๆ ขององค์กรโดยรวมและต้องการให้ภาครัฐกำหนดบทลงโทษผู้ที่ไม่ให้ความสนใจที่จะดำเนินกิจกรรมด้านกรีนโลจิสติกส์ อยู่ในระดับที่มีความต้องการได้รับการสนับสนุนมาก
8.การประเมินตนเองขององค์กรว่าดำเนินกิจกรรมด้านกรีนโลจิสติกส์อยู่ในระดับใด ผลการวิเคราะห์พบว่า องค์กรกำลังนำการบริหารจัดการแบบกรีนโลจิสติกส์มาประยุกต์ใช้  รองลงมาคือ องค์กรนำการบริหารจัดการแบบกรีนโลจิสติกส์มาประยุกต์ใช้ในบางขั้นตอน องค์กรเริ่มศึกษาเกี่ยวกับการนำการบริหารจัดการแบบกรีนโลจิสติกส์มาประยุกต์ใช้ องค์กรกำหนดนโยบายให้มีการประยุกต์ใช้การบริหารจัดการแบบกรีนโลจิสติกส์ และองค์กรยังไม่ได้ดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการแบบกรีนโลจิสติกส์ ตามลำดับ
9.การวิเคราะห์หาความแตกต่างของระดับการประเมินตนเองขององค์กรว่าดำเนินกิจกรรมด้านกรีนโลจิสติกส์อยู่ในระดับใด กับขนาดขององค์กร (จำแนกขนาดขององค์กรที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ทุนจดทะเบียนในการจำแนก ทุนจดทะเบียน <= 50 ล้านบาท เป็นองค์กรขนาดเล็ก ทุนจดทะเบียน 51 – 200 ล้านบาท เป็นองค์กรขนาดกลาง ทุนจดทะเบียน 201 – 500 ล้านบาท เป็นองค์กรขนาดใหญ่) จากการทดสอบเปรียบเทียบความแตกต่างของระดับการประเมินตนเองขององค์กรว่าดำเนินกิจกรรมด้านกรีนโลจิสติกส์อยู่ในระดับใด กับขนาดขององค์กร เป็นรายคู่ พบว่าขนาดขององค์กรในกลุ่มที่ 1 มีอิทธิพลต่อระดับการดำเนินกิจกรรมกรีนโลจิสติกส์ แตกต่างจาก กลุ่มที่ 3 อย่างมีนัยสำคัญ แสดงให้เห็นว่าขนาดขององค์กรที่ต่างกันมีอิทธิพลต่อระดับการดำเนินกิจกรรมกรีนโลจิสติกส์ที่ต่างกันด้วย และเมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยของระดับการประเมินองค์กรในแต่ละขนาดขององค์กรณ์ทั้ง 3 กลุ่ม พบว่า องค์กรที่มีขนาดใหญ่จะมีระดับการประเมินองค์กรสูงที่สุด องค์กรที่มีขนาดกลางจะมีระดับการประเมินองค์กรรองลงมา องค์กรที่มีขนาดเล็กจะมีระดับการประเมินองค์กรน้อยที่สุด ซึ่งหนึ่งเหตุผลสำคัญคือองค์กรขนาดใหญ่จะมีเงินทุนในการสนับสนุนให้เกิดการดำเนินกิจกรรมด้านกรีนโลจิสติกส์ แต่ในทางกลับกัน จากการสัมภาษณ์โรงงานตัวอย่างซึ่งจัดเป็นองค์กรขนาดเล็กแต่มีระดับการดำเนินกิจกรรมด้านกรีนโลจิสติกส์ที่สูง เนื่องมาจากทางผู้บริหารได้ให้ความสำคัญสนับสนุนให้เกิดกิจกรรมกรีนโลจิสติกส์ ได้ในองค์กร โดยจัดส่งบุคลากรไปเรียนรู้พร้อมทั้งนำกลับมาพัฒนาและประยุกต์ใช้ในองค์กร ค่อยๆเริ่มดำเนินกิจกรรมด้านกรีนโลจิสติกส์ไปเรื่อยๆ จนสามารถทำรายได้เข้าสู่องค์กรและพัฒนามาเป็นโลจิสติกส์เต็มรูปแบบ
10.การวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ทำให้องค์กรปรับตัวสู่กรีนโลจิสติกส์ กับระดับการประเมินตนเองขององค์กรว่าดำเนินกิจกรรมด้านกรีนโลจิสติกส์อยู่ในระดับใด จากผลการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุ ข้างต้น พบว่า มี ปัจจัยที่เกี่ยวกับทรัพยากรขององค์กรในเรื่อง บุคลากรมีศักยภาพในการเรียนรู้และการปรับตัวเพื่อเข้าสู่การบริหารจัดการแบบกรีนโลจิสติกส์ มีการสนับสนุนการศึกษาให้บุคลากรมีความรู้และแนวคิดในการนำแนวคิดด้านสิ่งแวดล้อมมาประยุกต์ใช้กับกระบวนการทำงาน และองค์กรมีประสบการณ์ในการดำเนินงานภายใต้มาตรฐานต่างๆ เช่น ISO 14001 ปัจจัยที่เกี่ยวกับนโยบายรัฐบาล ในเรื่องการส่งเสริมให้มีการบริหารจัดการแบบกรีนโลจิสติกส์ การดำเนินนโยบายที่นำไปสู่การทำสัญญาซื้อขายในระหว่างเกษตรกรผู้เพาะปลูกมันสำปะหลังและผู้ซื้อมันสำปะหลังไปแปรรูป
ปัจจัยด้านกฎหมาย ในเรื่องกฎระเบียบ ข้อบังคับทางด้านสิ่งแวดล้อมของต่างประเทศ และการปฏิบัติตามข้อกำหนดเกี่ยวกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปัจจัยด้านลูกค้าและการตลาด ในเรื่องลูกค้ากำหนดหรือร้องขอให้ผู้ผลิตหรือผู้ให้บริการดำเนินธุรกิจแบบเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผู้บริโภคหันมาสนใจสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Product)มากขึ้น บริษัทต้องการสร้างภาพลักษณ์ให้องค์กรเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Brand Image) ปัจจัยด้านต้นทุน ในด้านต้นทุนการกำจัดของเสีย มีความสัมพันธ์กับระดับการประเมินตนเองขององค์กร นั่นคือ หากองค์กรเห็นว่า ปัจจัยดังกล่าวข้างต้นส่งผลต่อการปรับตัวสู่กรีนโลจิสติกส์มาก ระดับการปรับตัวขององค์กรก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย
11. ข้อเสนอแนะและความคิดเห็นเพิ่มเติม
  1. ภาครัฐ องค์กรส่วนใหญ่เห็นว่าการได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐมีความสำคัญต่อการปรับตัวขององค์กร ในการนำการบริหารจัดการแบบกรีนโลจิสติกส์มาประยุกต์ใช้ โดยต้องการให้มีการสนับสนุนและให้ความรู้ด้านกรีนโลจิสติกส์มีการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์มากขึ้น จัดตั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบ เพื่อเป็นหน่วยงานที่ให้คำปรึกษาและสนับสนุนการดำเนินงานด้านกรีนโลจิสติกส์ของภาคเอกชน
2. ภาคเอกชน ควรให้ความร่วมมือกับภาครัฐในการดำเนินกิจกรรมด้านกรีนโลจิสติกส์ โดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูงควรให้การสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในองค์กรอย่างเต็มที่
3.จากการสัมภาษณ์ โรงงานที่ได้มีการนำการบริหารจัดการแบบกรีนโลจิสติกส์ไปประยุกต์ใช้แล้วในบางขั้นตอน พบว่า โรงงานนั้นยังไม่ได้ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร อันเนื่องมาจากขาดการบริหารจัดการในการผลิตให้เป็นไปตามกรีนโลจิสติกส์อย่างเคร่งครัด
สรุปและอภิปรายผล
 จากผลการวิจัยข้างต้น พบว่า ผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตแป้งมันสำปะหลังของไทย ชนิด Native Starch ส่วนใหญ่ได้กำลังนำการบริหารจัดการแบบกรีนโลจิสติกส์มาประยุกต์ใช้ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทย ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่หันมาสนใจสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม กันมากขึ้นในปัจจุบัน
 จากการสอบถามความเข้าใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องกันกรีนโลจิสติกส์ พบว่ายังมีผู้ประกอบการบางส่วนที่มีความเข้าใจเกี่ยวกับกรีนโลจิสติกส์ที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งส่งผลต่อการดำเนินงานด้านกรีนโลจิสติกส์ขององค์กร ดังนั้นภาครัฐควรเข้ามาสนับสนุนการให้ความรู้ความเข้าใจ ที่ถูกต้อง จัดให้มีหน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบที่ชัดเจน สามารถเป็นที่ปรึกษาของผู้ประกอบการได้ ควรกำหนดแนวทางในการพัฒนาการบริหารจัดการแบบกรีนโลจิสติกส์ร่วมกัน เพื่อให้เกิดการพัฒนาไปในทิศทางเดียวกันตลอดทั้งโซ่อุปทาน
 การได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูงขององค์กร ในการกำหนดนโยบายการดำเนินงานด้านกรีนโลจิสติกส์ พร้อมทั้งสนับสนุนงบประมาณให้มีการพัฒนากิจกรรมด้านกรีนโลจิสติกส์ มีการสนับสนุนการศึกษาให้บุคลากรมีความรู้และแนวคิดในการนำแนวคิดด้านสิ่งแวดล้อมมาประยุกต์ใช้กับกระบวนการทำงาน เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้องค์กรพัฒนาจนนำไปสู่การบริหาจัดการแบบกรีนโลจิสติกส์อย่างเต็มรูปแบบได้
 จากการสัมภาษณ์หน่วยงานภาครัฐ โดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม โดยทางกรมฯ ได้มีการดำเนินโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตที่สะอาดในอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลัง เพื่อมุ่งพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน จากการใช้เทคโนโลยีการผลิตที่สะอาด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการแบบกรีนโลจิสติกส์ในอุตสาหกรรม ลดต้นทุนการผลิตและปัญหาสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน และร่วมมือกันสร้างกลไกเพื่อรองรับและสนับสนุนการนำเทคโนโลยีการผลิตที่สะอาดไปใช้ในอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลังอย่างเป็นรูปธรรม
ข้อเสนอแนะ
 จากการค้นคว้าข้อมูลทุติยภูมิ พบว่า งานวิจัยในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกรีนโลจิสติกส์ในประเทศไทยยังมีอยู่น้อยมาก ซึ่งเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่อาจทำให้ผู้ประกอบการของไทยพัฒนาการดำเนินงานไปสู่กรีนโลจิสติกส์ล่าช้า ดังนั้นหน่วยงานภาครัฐควรเล็งเห็นความสำคัญสนับสนุนให้มีการวิจัยด้านนี้ให้มากขึ้น ให้ความรู้กับผู้ประกอบการทั่วทั้งโซ่อุปทาน รวมทั้งควรมีการประชาสัมพันธ์ถึงขั้นตอนและแนวทางการขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐในด้านการส่งเสริมให้มีการพัฒนาในการนำการบริหารจัดการด้านกรีนโลจิสติกส์มาประยุกต์ใช้ ควรส่งเสริมและสนับสนุนไปยังอุตสาหกรรมอื่นๆ พร้อมทั้งสนับสนุนงบประมาณให้มีการดำเนินกิจกรรมด้านกรีนโลจิสติกส์อย่างเต็มที่ ซึ่งจะเป็นส่วนที่สำคัญอย่างยิ่งในการผลักดันให้ผู้ประกอบการของไทยนำการบริหารจัดการแบบกรีนโลจิสติกส์ไปประยุกต์ใช้ได้อย่างถูกต้องและยั่งยืน

You can leave a response, or trackback from your own site.

7 Responses to “การบริหารจัดการแบบกรีนโลจิสติกส์ในอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลัง”

  1. kyle says:

    taught@pasted.arbitrated” rel=”nofollow”>.…

    ñïñ!!…

  2. Nick says:

    institute@war.abide” rel=”nofollow”>.…

    good….

  3. ricardo says:

    pens@armful.vilas” rel=”nofollow”>.…

    thanks….

  4. ross says:

    seen@evidential.voyage” rel=”nofollow”>.…

    thanks for information!!…

  5. leslie says:

    lend@jeweled.thelmas” rel=”nofollow”>.…

    ñïàñèáî çà èíôó….

  6. การบริหารจัดการแบบกรีนโลจิสติกส์ในอุตสาหกà says:

    Buy Cheap Proxies…

    I found a great……

Leave a Reply