แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 กับภาคการส่งออกไทย

โดย นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ
เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
จัดโดย สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย

การจัดสัมมนาโดยสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศ เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2554 ได้เรียนเชิญคุณอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มานำเสนอทัศนะเกี่ยวกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 กับภาคการส่งออกไทย มีหลายประเด็นที่น่าสนใจ เป็นประโยชน์ต่อภาคเอกชนโดยเฉพาะผู้ส่งออก
กล่าวได้ว่า ภาคการส่งออกได้รับการผลักดันและสนับสนุนมาตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 เมื่อปี 2525 เป็นต้นมา ทั้งในด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การส่งออกสินค้าเกษตร นโยบายทดแทนการนำเข้า ซึ่งรัฐบาลทุกยุคทุกสมัยก็ได้นำแผนพัฒนาฯ มากำหนดเป็นนโยบายในการพัฒนาประเทศ จะเห็นได้จากการที่ภาครัฐส่งเสริมการส่งออกเพื่อทดแทนการนำเข้า รวมถึงการจัดตั้งหน่วยงานเพื่อส่งเสริม คือ กรมส่งเสริมการส่งออก กองทุนส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศและสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI)
ภาพรวมเศรษฐกิจไทย 
หากพิจารณาภาพรวมของเศรษฐกิจไทยจากสัดส่วนการผลิตรายสาขาต่อ GDP จะพบว่า สัดส่วนการผลิตภาคเกษตรกรรมต่อ GDP ในปี 2535 อยู่ที่ 13% และลดลงเหลือเพียง 9.2% ในปี 2552 ส่วนภาคอุตสาหกรรมมีการเจริญเติบโตอย่างมากจาก 31.1% ในปี 2535 เป็น 40.8% ในปี 2552 อย่างไรก็ตาม GDP ด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมรวมกัน ยังมีปริมาณน้อยกว่า GDP ทางด้านภาคบริการ ที่มีมูลค่าประมาณ 51-55.9% ต่อ GDP โดยตั้งแต่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 4 เป็นต้นมา ภาคอุตสาหกรรมก็เริ่มขยายตัวสูงกว่าภาคเกษตรกรรมและขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
หากจะมองในแง่โครงสร้าง ประเทศไทยพัฒนาไปสู่ความเป็นประเทศอุตสาหกรรมมากขึ้น มีอัตราการเจริญเติบโตต่อเนื่อง ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2553 ขยายตัว 6.7% รวม 9 เดือนแรกของปี 2553 เศรษฐกิจไทยขยายตัวสูงถึง 9.3% และคาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2553 ทั้งปี จะขยายตัว 7.9%

แม้ว่าประเทศไทยจะมีผลผลิตทางด้านอุตสาหกรรมในปริมาณมาก แต่การวิจัยและพัฒนาภายในประเทศไม่ได้รับการส่งเสริมเท่าที่ควร การผลิตในภาคอุตสาหกรรมของไทยจึงเป็นในลักษณะของการรับผลิตตามคำสั่งซื้อของลูกค้าในต่างประเทศ จากปัจจัยการพัฒนาประเทศที่ต้องประกอบด้วย แรงงาน-เงินทุน-ที่ดิน-เทคโนโลยี ที่ผ่านมา ประเทศไทยใช้เพียงที่ดินและแรงงานเท่านั้น การบริหารจัดการยังไม่มีประสิทธิภาพ ขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญ ทำให้ไม่สามารถเพิ่มมูลค่าสินค้า (Value added) ได้ ส่งผลให้ประเทศขาดความสามารถการแข่งขันทางเศรษฐกิจในระยะยาว
อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (%)
2552 2553 2553 2552
Q1 Q2 Q3 9 เดือน 9 เดือน
GDP -2.3 12 9.2 6.7 9.3 -5
GDP ปรับฤดูกาล - 3.6 -0.6 -0.2 - -
ที่มา: สศช. (การแถลงข่าวเมื่อวันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน 2553
ปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ คือ
การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจโลกและภูมิภาค มูลค่าการส่งออกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น
กำลังซื้อของผู้บริโภคในประเทศสูงขึ้นเพราะราคาสินค้าเกษตรสูงขึ้นทำให้รายได้จากรายได้เกษตรกรที่สูงขึ้นและอัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำ
การท่องเที่ยวเริ่มปรับเข้าสู่ภาวะปกติมีปริมาณนักท่องเที่ยวเดินทางมายังประเทศไทยมากขึ้น
การลงทุนภาคเอกชนยังขยายตัว โดยเฉพาะการก่อสร้างที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพและปริมณฑล
โครงข่ายคมนาคมซึ่งมีการลงทุนเพิ่มขึ้น
มาตรการช่วยเหลือและยกเลิกการเก็บค่าธรรมเนียมของภาครัฐทำให้ภาคอุตสาหกรรมเติบโตขึ้นอย่างมาก
โครงสร้างการส่งออกของไทย 
โครงสร้างเศรษฐกิจไทยมีการพึ่งพาการส่งออกเพิ่มขึ้นโดยลำดับ จากตัวเลขเศรษฐกิจรวม 9 เดือนแรกของปี 2553 มีการขยายตัว 9.3 ต่อ GDP โดยส่งออกมีสัดส่วน 10.7% การส่งออกมีความสำคัญมากในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สินค้าอุตสาหกรรมมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นโดยตลอด ในขณะที่การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตรมีสัดส่วนลดลง ในปี 2552 ประเทศไทยส่งออกสินค้าเป็นอันดับที่ 25 หรือ 1.2% ของการค้าระหว่างประเทศ มีมูลค่าการส่งออก 152 billion US โดยเพิ่มขึ้นประมาณปีละ 0.1%
(% share) 2535 2540 2545 2549 2550 2551 2552 2553
11 m
เกษตรกรรม 20.73 14.32 10.44 10.12 9.86 11.33 10.78 10.79
อุตสาหกรรมการเกษตร 11.07 9.56 7.48 6.14 6.17 6.59 7.39 6.84
อุตสาหกรรม 65.72 70.86 76.15 77.14 78.35 75.28 76.37 76.99
แร่และเชื้อเพลิง 1.44 2.74 2.95 5.32 4.88 6.80 5.46 5.38
อื่นๆ 1.04 2.53 2.98 1.28 0.74 - - -
ตลาดหลักในการส่งออกของไทย คือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ยุโรป และสิงคโปร์ แต่จากสภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย โดยเฉพาะยุโรปที่ยังคงเผชิญกับปัญหาทางการคลังทำให้การส่งออกไปยังตลาดเหล่านี้ลดลง ตลาดใหม่ที่มีปริมาณส่งออกสินค้าเพิ่มขึ้นในขณะนี้ คือ ออสเตรเลีย จีน โดยจากการทำ FTA กับจีนแล้วทำให้ปริมาณการส่งออกสูงขึ้นอย่างมาก
ดุลการค้าของประเทศ ใน 2-3 ปีที่ผ่านมา มีเงินไหลเข้าประเทศจากการส่งออกที่มากขึ้น แม้ว่าในช่วงปลายปี 2551 เกิดวิกฤตเศรษฐกิจส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าของไทย มูลค่าการส่งออกลดลงอย่างชัดเจนในปี 2552 แต่ในปี 2553 มูลค่าการส่งออกกลับเพิ่มขึ้น แสดงให้เห็นว่า ประเทศไทยมีการพัฒนาเพื่อขยายกำลังการผลิต การเพิ่มปริมาณผลผลิตต่อไร่ของสินค้าเกษตรกรรม ทำให้มูลค่าส่งออกปี 2553 เกินมูลค่าการส่งออกปี 2552 โดยสินค้าส่งออกหลัก คือ ยานยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์เครื่องใช้ไฟฟ้าและยางพารา ซึ่งมีการขยายตัวที่ดี
(% YOY) 2552 2553
Q1 Q2 Q3 Q4 ทั้งปี Q1 Q2 Q3 Q4 ทั้งปี
ยานยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ -35.3 -41.1 -35 7.4 -27.7 65.9 84.3 58.3 25.6 55.2
เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ -32.5 -21.3 -11.1 16.3 -13.1 52.7 24.2 14.8 6.4 21.9
เครื่องใช้ไฟฟ้า -30.5 -23.7 -12 16 -13.8 40.8 40.1 32.6 19.7 32.4
ยางพารา -45.8 -53 -52.5 22.5 -36.6 102.5 117.7 93.9 49 83.4
ที่มา: กระทรวงพาณิชย์
ความสามารถในการแข่งขันของประเทศ มีดัชนีชี้วัดเปรียบเทียบแต่ละประเทศหลายตัวชี้วัด คือ World Economic Forum (WEF), The IMD World Competitiveness
จากดัชนีชี้วัดของ IMD ประเมินความสามารถทางด้านการแข่งขันของไทยอยู่ในอันดับที่ 26 จาก 57 ประเทศ ส่วนใน World Economic Forum นั้นอันดับตกลงมาเป็นอันดับที่ 38 จาก 134 ประเทศ ชี้ให้เห็นว่า ความน่าดึงดูดในการเป็นแหล่งลงทุนนั้นลดลง ซึ่งปัญหาต่างๆ เกิดจาก
โครงสร้างพื้นฐาน ต้องมีการพัฒนาโครงข่ายและรูปแบบการขนส่งที่มีประสิทธิภาพ การส่งเสริมการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศให้มีประสิทธิภาพจะช่วยลดค่าใช้จ่ายและผลกระทบจากราคาพลังงานเชื้อเพลิงได้ อย่างเช่น การเพิ่มจำนวนรถไฟที่ขนส่งสินค้าจาก ICD ลาดกระบังไปยังท่าเรือแหลมฉบังที่ยังไม่แล้วเสร็จ
คุณภาพของบุคลากรและผู้เชี่ยวชาญ เกี่ยวข้องกับคุณภาพด้านการศึกษาของประเทศ สถาบันการศึกษาควรผลิตนักศึกษาในสาขาที่ตรงตามความต้องการของภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งการจัดตั้งสถาบันเทียบสอบคุณวุฒิวิชาชีพ เพื่อให้ทราบระดับความสามารถและนำไปกำหนดระดับเงินเดือนที่เหมาะสมในแต่ละสาขาวิชาชีพ
ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประเทศไทยยังมีการลงทุนในด้านการวิจัยพัฒนาน้อย ไม่มีเป้าหมายการวิจัยพัฒนาที่ชัดเจน ภาคเอกชนและภาครัฐต้องร่วมมือกันกำหนดเป้าหมาย มีแผนงานในการพัฒนาที่ชัดเจน อย่างเช่น การเพิ่มมูลค่าสินค้าด้วยการออกแบบ หรือหีบห่อที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งภาคเอกชนควรมีส่วนนำเสนอแนวทางการวิจัยพัฒนา
มีสินค้าหลายประเภทที่ไม่ได้รับผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจที่ถดถอยในปีที่ผ่านและมีความต้องการสูงขึ้น คือ
1. สินค้าเกี่ยวกับ Life style และสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
2. สินค้าสุขภาพ ยา สมุนไพรไทย มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มจาก 100 ล้านบาท เป็น 1 พันล้านบาท
3. สิ่งทอ เป็นอุตสาหกรรมที่ควรเน้นการพัฒนาด้านการออกแบบเพื่อให้สินค้ามีมูลค่าสูงขึ้น
ทิศทางการพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ได้ริเริ่มมาตั้งแต่ปี 2540 ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดวิกฤตต้มยำกุ้งในประเทศไทย พร้อมกันนั้น ภาครัฐได้เริ่มหันมาส่งเสริมภาคเกษตรกรรมซึ่งเป็นสินค้าหลักของประเทศ ในด้านงบประมาณ ภาครัฐมีค่าใช้จ่ายด้านเบี้ยผู้สูงอายุ ทุนการศึกษา งบประมาณจากการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น ซึ่งเป็นภาระทางด้านงบประมาณที่สูง มีการใช้จ่ายเกินงบประมาณมานาน 5-6 ปีแล้ว แม้จะเป็นจำนวนไม่มากนัก แต่ก็จะส่งผลให้ประเทศขาดวินัยทางการเงินและความน่าเชื่อถือจนอาจส่งผลให้เกิดปัญหาอย่างประเทศกรีซ โปรตุเกสได้ สำนักงบประมาณจะได้มีการเสนอนโยบายงบประมาณในปี 2555 ในสัปดาห์หน้า โดยเสนอให้มีการใช้จ่ายงบประมาณในลักษณะสมดุลย์
ดังนั้น โครงการต่างๆ จะใช้รูปแบบ PPP (Public Private Partnership) มากขึ้น โดยภาครัฐจะเป็นผู้ลงทุนในส่วนของโครงสร้างพื้นฐาน และภาคเอกชนเป็นผู้ลงทุนในส่วนของเครื่องมืออุปกรณ์ อย่างเช่น ประเทศไทยมีชื่อเสียงทางด้านการแพทย์สามารถพัฒนาให้เป็น Medical hub ได้ โดยในส่วนของเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์ซึ่งมีราคาสูง ควรให้ภาคเอกชนเป็นผู้ลงทุน
จากแผนพัฒนาประเทศ ฉบับที่ 1-7 ที่ผ่านมา พบว่า เศรษฐกิจดี สังคมมีปัญหา การพัฒนาไม่ยั่งยืน หากพัฒนามากจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร ดังนั้นจึงต้องมีการปรับให้มีการพัฒนาที่สมดุลและต่อเนื่อง โดยปีนี้สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คาดการณ์การเจริญเติบโตของประเทศที่ 3.5-4.5% และให้ความสำคัญกับการจัดการด้านความเสี่ยงมากขึ้น
โอกาสและความท้าทายของเศรษฐกิจไทย คือ
1. การก่อตั้งประชาคมอาเซียน (AEC) ในปี 2015 ก่อให้เกิดเขตเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ซึ่งมีแรงงาน ทรัพยากรธรรมชาติและกำลังซื้อสูง ภาคเอกชนไทยต้องออกไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งขณะนี้ก็ได้มี อุตสาหกรรมด้านน้ำตาล ยางและปาล์ม ไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านแล้ว
2. อาหารและพลังงาน ประเทศไทยมีการปรับตัวด้านพลังงานโดยการเริ่มนโยบายประหยัดพลังงาน และแผนพลังงานทดแทนในอีก 20 ปีข้างหน้า การใช้พลังงานทดแทนโดยสนับสนุนการใช้ Ethanol biodiesel และนโยบาย E85 ซึ่งจะช่วยควบคุมการนำพืชไปใช้เป็นอาหารและพลังงาน
3. การเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ สังคมไทยต้องมีการตื่นตัวในการรักษาสิ่งแวดล้อมให้มากขึ้น โดยเริ่มจากระดับนโยบาย การกำหนดกฎระเบียบเพื่อให้ทุกภาคส่วนปฏิบัติ มีกองทุนสนับสนุนทางด้านเงินทุนแก่โรงงานอุตสาหกรรมเพื่อผลักดันให้เปลี่ยนเครื่องจักรอุปกรณ์ นำเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาใช้ อย่างไรก็ตาม นอกจากภาคการขนส่งแล้ว ภาคบริการ ภาคอุตสาหกรรมและภาคครัวเรือน ก็ควรมีการควบคุมด้วย
4. สังคมผู้สูงอายุ มีผู้สูงอายุจากทั่วโลกมาท่องเที่ยวในไทยเป็นจำนวนมากทุกปี ภาครัฐควรให้ความสำคัญกับการดูแลผู้สูงอายุ โดยมีมาตรการในการช่วยเหลือดูแลและส่งเสริมด้านการศึกษา เป็นต้น
เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) ได้รับการผลักดันโดยกระทรวงพาณิชย์ เนื่องจากที่ผ่านมาประเทศไทยใช้ Economic capital, Social capital และ Natural capital แต่ไม่มีการนำ Cultural capital มาใช้ ประเทศเกาหลี ญี่ปุ่น ได้มีการนำวัฒนธรรมของตนมาเป็นจุดขาย เห็นได้จากนิยายของเกาหลี ก่อให้เกิดกระแสนิยมส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวไทยไปเที่ยวเกาหลีเพิ่มขึ้นจาก 1 หมื่นคนเป็น 3 แสนคน ภายในเวลา 2-3 ปี และยังก่อให้เกิดอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ทั้งด้านการแสดง ศิลปะ การออกแบบ อุตสาหกรรมเสื้อผ้า เครื่องประดับ ในอีกด้านของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ คือ การใช้ความคิดสร้างสรรค์ การออกแบบ การศึกษาความต้องการของผู้บริโภค โดยสนับสนุนการมีความคิดสร้างสรรค์ ความมีอิสระในการนำเสนอความคิด การมีตลาดเพื่อสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์นั้น
ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 จะมุ่งเน้นในประเด็นสำคัญอยู่ 6 ประเด็น คือ
1. การแก้ปัญหาความเป็นธรรมในสังคม การลดความเลื่อมล้ำ เช่น ระบบประกันสังคม การเข้าถึงความยุติธรรมในสังคม ประชาชนสามารถเข้าถึงเหล่งเงินทุนได้มากขึ้น
2. สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต
3. อาหารและพลังงาน
4.เศรษฐกิจ ฐานความรู้และปัจจัยแวดล้อม ความสามารถด้านการแข่งขันในทุกด้าน เศรษฐกิจ สังคม โลจิสติกส์ เกษตรกรรม และวิทยาศาสตร์
5. การเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจและความมั่นคงในภูมิภาค
6. การใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
โลจิสติกส์ (Logistics) ในอีก 5 ปีข้างหน้า โลจิสติกส์จะเพิ่มความสำคัญมากขึ้น การเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน มีความสำคัญ การพัฒนาท่าเรือทวายในพม่า การก่อสร้างถนนเชื่อมมายังจังหวัดกาญจนบุรีและด่านพุน้ำร้อน เป็นโอกาสทางการค้าของประเทศไทย การให้บริการศุลกากรสำหรับสินค้าผ่านแดน 24 ชั่วโมง ด่านศุลกากรทางบก ขณะนี้ได้มีการนำเสนอไปยังประเทศเพื่อนบ้านแล้ว เพื่อส่งเสริม ASEAN Connectivity
จากการรวบรวม Logistics Cost ของประเทศไทย โดย สศช. พบว่า ในปี 2551 Logistics Cost อยู่ที่ 18.6% ของ GDP ในปี 2552 ลดลงเหลือ 16.8% ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ในปี 2552 นั้น อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ -2% จึงทำให้ปริมาณการขนส่งลดลงตามไปด้วยตามสัดส่วน หากสภาพเศรษฐกิจในปี 2552 ดำเนินไปตามปกติคาดว่า Logistics Cost จะอยู่ที่ 18.3% ลดลง 0.3% จากปี 2551 โดยเกิดจากการพัฒนาประสิทธิภาพทางด้านโลจิสติกส์ของภาคเอกชนและการฝึกอบรมจากภาครัฐ สำหรับในปี 2553 สศช. คาดว่า Logistics Cost จะอยู่ที่ประมาณ 18%

You can leave a response, or trackback from your own site.

10 Responses to “แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 กับภาคการส่งออกไทย”

  1. arthur says:

    chemically@flee.years” rel=”nofollow”>.…

    ñïñ çà èíôó!…

  2. jon says:

    warm@darting.irreducible” rel=”nofollow”>.…

    tnx for info!…

  3. Austin says:

    launder@katya.dry” rel=”nofollow”>.…

    tnx for info….

  4. marc says:

    temper@steel.lenins” rel=”nofollow”>.…

    ñïñ çà èíôó!!…

  5. russell says:

    pits@dalbert.fatigued” rel=”nofollow”>.…

    thank you….

  6. Daniel says:

    commemorating@parochial.washboard” rel=”nofollow”>.…

    ñïñ!!…

  7. eric says:

    carryover@thinned.residences” rel=”nofollow”>.…

    áëàãîäàðþ….

  8. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 ก says:

    My Proxies…

    I found a great……

  9. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 ก says:

    Buy Proxy City…

    I found a great……

  10. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 ก says:

    Buy Elite Proxies…

    I found a great……

Leave a Reply