การพัฒนาระบบขนส่งและจราจรของประเทศไทยในช่วง 10 ปีข้างหน้า

ปัจจุบันกระทรวงคมนาคมอยู่ในระหว่างการจัดทำแผนหลักการพัฒนาระบบขนส่งและจราจรสำหรับ 10 ปีข้างหน้า โดยในการดำเนินการได้ประมวลและวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และข้อจำกัด ตลอดจนการวิเคราะห์ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งของประเทศ ทั้งสภาพในปัจจุบันและสภาพที่จะเกิดขึ้นในอนาคต รวมถึงประเด็นท้าทายของการพัฒนา เพื่อมุ่งไปสู่การกำหนดวิสัยทัศน์และเป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ที่ตรงต่อสภาพปัญหาและแนวทางที่ควรเป็น
เมื่อพิจารณาจากแนวโน้มในอนาคตที่ประเทศไทยจะเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมอาเซียน การจัดการด้านพลังงานในภาคการขนส่ง การพัฒนาอย่างยั่งยืน ตลอดจนแรงผลักดันของประชาคมโลกที่จะบรรเทาผลกระทบและแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและภาวะโลกร้อน วิสัยทัศน์ของการพัฒนาภายใต้แผนหลักการขนส่งและจราจร พ.ศ. 2554-2563 คือ
“มุ่งสู่การขนส่งที่ยั่งยืน (Towards Sustainable Transport)”
โดยในแผนหลักได้เป้าประสงค์ของแผน 6 เป้าประสงค์ ดังนี้
เป้าประสงค์ที่ 1: เพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางเชื่อมต่อการเดินทางและการขนส่ง (Hubs for Connectivity)
เป้าประสงค์นี้จะมุ่งเน้นการเชื่อมต่อระหว่างประเทศในทุกสาขาการขนส่ง ทั้ง ถนน ทางราง ทางน้ำ และทางอากาศ
ในการการส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อการเดินทางและการขนส่ง นอกจากอาศัยความได้เปรียบ
จากการมีทำเลที่ตั้งเป็นศูนย์กลางระหว่างประเทศเพื่อนบ้านแล้ว จะต้องมีประตูการค้า (Gateway) และโครงข่ายเชื่อมต่อ (Linkage) ที่ดี
เพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางเชื่อมต่อการเดินทางและการขนส่ง (Hubs for Connectivity) จำเป็นต้อง
มีการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการของประตูการขนส่ง (Hub) ที่มีศักยภาพ และการปรับปรุงโครงข่ายเชื่อมโยง (Spoke)
รวมถึงกฎระเบียบเพื่ออำนวยความสะดวกให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการเดินทางและการขนส่ง ซึ่งจะทำให้ปริมาณการเดินทาง
ของคนและการขนส่งสินค้าผ่านประเทศไทยจะเพิ่มมากขึ้น ส่งผลทำให้การค้าระหว่างประเทศของไทยขยายตัว มูลค่า
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) เพิ่มขึ้น และในท้ายที่สุดประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคตระหนักรู้ถึงบทบาททางเศรษฐกิจและการเป็นศูนย์กลางการขนส่งและโลจิสติกส์ของไทย
เป้าประสงค์ที่ 2: เพื่อให้มีระบบขนส่งที่มีประสิทธิภาพและระดับการให้บริการที่ดี เชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจและชุมชน (Accessibility)
การปรับปรุงระบบขนส่งให้มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้นจะช่วยให้เกิดความคล่องตัวในการเดินทางและขนส่งระหว่างภูมิภาค ความเร็วและความตรงต่อเวลาในการเดินทางและขนส่งดีขึ้น ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจในการให้บริการเพิ่มมากขึ้น นอกจากการปรับปรุงระบบขนส่งให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นแล้ว การขยายโครงข่ายการให้บริการไปยังพื้นที่เศรษฐกิจ รวมทั้งพื้นที่ห่างไกล ทั้งโครงข่ายถนน โครงข่ายรถไฟ ให้ครอบคลุมพื้นที่ให้บริการมากขึ้น รวมทั้งการให้บริการท่าอากาศยานในต่างจังหวัด
ซึ่งปัจจุบันมีท่าอากาศยานกระจายอยู่ในหลายจังหวัดให้ใช้ประโยชน์ได้เต็มที่มากขึ้น การเชื่อมโยงพื้นที่ด้วยโครงข่ายคมนาคมจะเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว กระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค เชื่อมโยงสินค้าจากแหล่งผลิต สู่ศูนย์รวบรวมกระจายสินค้าไปสู่ทุกภูมิภาคของประเทศ รวมทั้งเป็นการตอบสนองความต้องการในการสัญจรของประชาชน
ในท้องถิ่น เชื่อมโยงความเจริญจากเมืองสู่ชนบท ทั้งยังมีบทบาทสำคัญในการสร้างงาน สร้างรายได้ และยกระดับคุณภาพชีวิต
ที่ดีให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น เป็นการสร้างความอยู่ดีมีสุข ลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างโอกาสในการเข้าถึงบริการพื้นฐาน
และบริการทางสังคมของรัฐ เช่น การศึกษา การแพทย์ การสาธารณสุขอย่างเท่าเทียม
เป้าประสงค์ที่ 3: เพื่อปรับปรุงและเพิ่มความปลอดภัย (Safety) ในการเดินทางและการขนส่ง
เมื่อพิจารณาและวิเคราะห์ถึงสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุของการขนส่งรูปแบบต่างๆ พบว่า อุบัติเหตุจากการขนส่ง
ทางถนนส่วนใหญ่มีสาเหตุหลักมาจากคน สภาพตัวรถ สภาพแวดล้อม สภาพอากาศ สภาพถนน และอื่นๆ
เพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์นี้ หน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมจะปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน มาตรฐานยานพาหนะ และสภาพแวดล้อมให้มีคุณภาพและความปลอดภัยในการเดินทาง โดยเฉพาะการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ จิตสำนึก และทักษะเรื่องความปลอดภัยด้านการขนส่ง ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้คาดว่า จำนวนอุบัติเหตุจากการขนส่งจะลดลง จำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บและผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุการขนส่งจะลดลงเช่นเดียวกัน ส่งผลทำให้ความสูญเสียทางเศรษฐกิจและสังคมลดลง
เป้าประสงค์ที่ 4: เพื่อส่งเสริมการขนส่งที่ประหยัดพลังงาน (Energy Saving) และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Environmental Friendly)
ปัจจุบันปัญหาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเป็นประเด็นที่มีการตระหนักถึงอย่างมากทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ในประเทศไทยมีการใช้พลังงานในภาคการขนส่งมากถึงร้อยละ 35 ของการใช้พลังงานทั้งหมด ซึ่งใกล้เคียงกับการใช้พลังงานในภาคอุตสาหกรรม และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต ผลจากการใช้พลังงานเป็นปริมาณมากดังกล่าว
ได้ก่อให้เกิดการปล่อยมลภาวะสู่สิ่งแวดล้อมตามมา โดยเฉพาะการขนส่งทางถนน มีการใช้พลังงานสูงสุดกว่าการขนส่งรูปแบบอื่น
กระทรวงคมนาคมจะดำเนินการต่อเนื่องจากที่ผ่านมา โดยเพิ่มสำคัญของการขนส่งสินค้าทางรางและน้ำในด้านการขนส่งสินค้า โดยส่งเสริมให้มีการเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งทางถนนมาสู่การขนส่งทางรางและน้ำ (Modal Shift) โดยจะมีการส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อให้มีการใช้พลังงานและยานพาหนะที่สะอาด ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้คาดว่าจะช่วยให้ปริมาณ
การใช้พลังงานในภาคการขนส่งและมลภาวะที่เกิดจากภาคการขนส่งลดลง โดยเฉพาะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ส่งผลให้
ผลกระทบที่มีต่อภาวะโลกร้อนลดลง อีกทั้งเป็นการลดการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง และช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เนื่องจากการประหยัดต้นทุนด้านพลังงาน และค่าชดเชยจากการทำให้เกิดภาวะโลกร้อน
เป้าประสงค์ที่ 5: เพื่อยกระดับการเข้าถึงและเพิ่มการใช้ระบบขนส่งสาธารณะ (Public Transport)
เนื่องจากระบบขนส่งสาธารณะเป็นระบบขนส่งที่สามารถขนส่งคนทั้งในเมืองและระหว่างเมืองได้ครั้งละมากๆ
การส่งเสริมการใช้และปรับปรุงการเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะของประชาชนในทุกระดับจะก่อเกิดผลดีในภาพรวม เช่น การลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล การประหยัดพลังงานจากการเผาผลาญเชื้อเพลิง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ส่งผลต่อการลดเวลาในการเดินทางในเขตเมือง ช่วยให้สภาพการจราจรติดขัดที่เป็นอยู่มีสภาพที่ดีขึ้น อีกทั้งยังเป็นแนวทางหนึ่งของการขนส่งยั่งยืน (Sustainable Transport)
แนวทางในการพัฒนาตามเป้าประสงค์นี้ ได้แก่ การปรับปรุงระบบขนส่งสาธารณะที่เชื่อถือได้ เข้าถึงสะดวก
และมีค่าโดยสารที่เหมาะสม การปรับปรุงระบบการขนส่งเชื่อมโยงกับการขนส่งสาธารณะ และการส่งเสริมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะ เพื่อทดแทนการใช้ยานพาหนะส่วนบุคคลในการเดินทาง ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้คาดว่าจำนวนผู้ใช้ระบบขนส่งสาธารณะเพิ่มขึ้น สัดส่วนค่าใช้จ่ายในการเดินทางโดยระบบขนส่งสาธารณะต่อรายได้จะลดลง ส่งผลทำให้การเดินทางสะดวก
และง่ายขึ้น ชุมชนก็มีความน่าอยู่มากขึ้น
เป้าประสงค์ที่ 6: เพื่อเพิ่มความคล่องตัว (Mobility) ในการเดินทางและการขนส่ง
ความต้องการเดินทางในเขตเมืองเพิ่มมากขึ้นตามการเติบโตของประชากรและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
ในเมือง ถึงแม้ว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะมีความพยายามพัฒนาโครงข่ายและจัดทำส่วนต่อขยายระบบขนส่งสาธารณะ
เช่น รถไฟฟ้าบีทีเอส รถเมล์ด่วนบีอาร์ที หรือรถไฟฟ้ามหานคร เป็นต้น แต่ความต้องการเดินทางโดยใช้รถยนต์ส่วนบุคคล
ก็ไม่ได้ลดลงแต่อย่างใด ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะยังมีความต้องเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนบุคคลในเขตเมือง และบริการขนส่งสาธารณะยังไม่ทั่วถึง ขาดการเชื่อมต่อที่ดี คุณภาพและราคาค่าบริการไม่จูงใจให้มีการเปลี่ยนมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะ

ในการเพิ่มความคล่องตัวในการเดินทางและการขนส่ง กระทรวงคมนาคมจะปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อลดปัญหาคอขวด เชื่อมต่อโครงข่ายการเดินทาง และการบริหารจัดการจราจร รวมทั้งสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีเพื่ออำนวย
ความสะดวกในการเข้าถึงและลดเวลาในการเดินทาง ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้คาดว่าเวลาที่ใช้ในการเดินทางและการขนส่งจะลดลง

ความแน่นอนและความตรงต่อเวลาในการเดินทางและขนส่งสินค้าจะเพิ่มขึ้น ส่งผลทำให้สภาพการจราจรคล่องตัวมากยิ่งขึ้น และลดความสูญเสียจากการจราจรติดขัด
ในฉบับต่อไป ผมจะนำเสนอในรายละเอียดว่าจากแนวคิดและเป้าประสงค์ข้างต้น จะนำไปสู่การปฏิบัติในลักษณะเป็นโครงการได้อย่างไร

You can leave a response, or trackback from your own site.

4 Responses to “การพัฒนาระบบขนส่งและจราจรของประเทศไทยในช่วง 10 ปีข้างหน้า”

  1. การพัฒนาระบบขนส่งและจราจรของประเทศไทยในชà says:

    Use Proxies…

    I found a great……

  2. การพัฒนาระบบขนส่งและจราจรของประเทศไทยในชà says:

    Proxy Servers…

    I found a great……

  3. การพัฒนาระบบขนส่งและจราจรของประเทศไทยในชà says:

    Buy Usa Proxy…

    I found a great……

Leave a Reply