ความพร้อมของผู้ประกอบการไทยกับประชาคมอาเซียน

ปัจจุบันความร่วมมือในด้านต่างๆ ภายในกลุ่มประเทศต่างๆ เริ่มมีมากขึ้น ตั้งแต่การรวมตัวกันของประเทศต่างๆในยุโรปเป็นสหภาพยุโรป (Europe Union; EU) เพื่อทำให้เกิดพลังมากขึ้นและสร้างความสามารถในการแข่งขันที่มากขึ้น ที่สำคัญคือการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้ถูกนำไปใช้อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์มากที่สุด เกิดความร่วมมือระหว่างประเทศภายในกลุ่มมากขึ้น ในกลุ่มประเทศอาเซียนก็เช่นเดียวกันกับกลุ่มประเทศยุโรปที่มีแนวคิดในการรวมตัวกันของประเทศสมาชิกทั้ง 10 ประเทศ โดยผู้นำของประเทศในกลุ่มอาเซียนได้มีมติร่วมกันในการประชุมที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อเดือนธันวาคม 2540 และการประชุมที่บาหลี เดือนตุลาคม 2546 ผู้นำอาเซียนได้มีมติร่วมกันในการที่จะปฏิรูปกลุ่มประเทศอาเซียนให้มีความมั่นคง มั่งคั่ง และมีความสามารถในการแข่งขัน โดยมีแผนจัดตั้งเป็นประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) โดยแบ่งออกเป็น 3 แกนหลัก (Pillars) ได้แก่ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community; AEC) ประชาคมความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Security Community) และประชาคมวัฒนธรรมและสังคมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community) โดยประชาคมอาเซียนมีเป้าหมายต้องจัดตั้งและบรรลุเป้าประสงค์ในการรวมตัวกันของประเทศสมาชิกอย่างสมบูรณ์ภายในปี 2563

เป้าหมายในการรวมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียน โดยเฉพาะประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนนั้นต้องดำเนินการให้เกิดเป็นรูปธรรมในปี 2558 เพื่อทำให้ประเทศสมาชิกสามารถเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานที่มีทักษะ และเงินทุนได้อย่างเสรี (Free Movement of Goods, Services, Investment, Skilled Labor and Free Flow of Capital)

ผู้ประกอบการไทยส่วนใหญ่ยังคงไม่ทราบว่าประชาคมอาเซียน คืออะไร มีผลกระทบกับธุรกิจที่ดำเนินอยู่อะไรบ้าง ต้องเตรียมการรองรับอย่างไร ที่สำคัญคือแผนจัดตั้งดังกล่าวเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2546 ซึ่งเป็นเวลาถึงเกือบ 7 ปี แต่ทำไมผู้ประกอบการไทยถึงทราบเรื่องนี้น้อยมาก บางรายถึงกับไม่ทราบเลยว่ามีประเด็นนี้เกิดขึ้นแล้ว ปัญหาเกิดจากการประชาสัมพันธ์ที่ไม่ทั่วถึง หรือไม่ตื่นตัวกับประเด็นนี้อย่างจริงจังหรือไม่ ทั้งๆ ที่ประเด็นนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ และส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการไทยโดยตรง

สิ่งที่ผู้ประกอบการไทยควรจะเตรียมความพร้อม

ภาษา (Language) เมื่อเกิดการรวมตัวกันเป็นประชาคม ภาษาที่ใช้ต้องเป็นภาษาที่สามารถสื่อสารกันได้อย่างทั่วถึงและเป็นที่ยอมรับกันในประเทศสมาชิก ซึ่งก็คือภาษาอังกฤษ ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยต้องสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ในระดับที่น่าพอใจ ทั้งด้านการพูด (การสื่อสารต้องใช้ภาษาอังกฤษในการเจรจาระหว่างกันมากขึ้นในการสนทนาธุรกิจและสังคม) การฟัง (เป็นเรื่องสำคัญมากในการดำเนินการสื่อสารเราต้องสามารถฟังการสนทนาภาษาอังกฤษได้อย่างเข้าใจ เพื่อทำให้เราเกิดความเข้าใจได้อย่างถ่องแท้และตรงประเด็น) การอ่าน (แน่นอนว่างานด้านธุรกรรมต้องใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักในงานด้านเอกสาร ผู้ประกอบการต้องสามารถอ่านทำความเข้าใจเอกสารได้อย่างครบถ้วน) และการเขียน (เมื่องานธุรกรรมเป็นภาษาอังกฤษ เราจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเขียนภาษาอังกฤษให้สามารถสื่อสารได้อย่างมืออาชีพ)

เวลา (Time) ประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียนมีเวลาที่ไม่ตรงกัน ผู้ประกอบการไทยต้องปรับตัวอย่างไรในการดำเนินธุรกิจระหว่างกัน ต้องปรับเวลาในการทำงานหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาในการส่งมอบสินค้าระหว่างประเทศที่ต้องขนส่งสินค้าข้ามแดน เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่ผู้ประกอบการไทยต้องนำมาพิจารณาถึงข้อดี-ข้อเสียของเวลาที่แตกต่างกัน

อุปทาน (Supply Side) ผู้ประกอบการต้องวิเคราะห์ตนเองให้ได้ว่ามีความถนัดในการจัดหาผลิตภัณฑ์และบริการอะไรบ้าง และต้องวิเคราะห์ให้ได้ว่าแต่ละประเทศสมาชิกมีความโดดเด่นในการจัดหาผลิตภัณฑ์และบริการอะไรบ้าง เพื่อที่จะได้นำมาวางแผนในการจัดหาของตนเอง หรือสร้างความร่วมมือกันระหว่างประเทศสมาชิก ผู้ประกอบการไม่ควรจะผลิตหรือให้บริการในสิ่งที่ไม่เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน

อุปสงค์ (Demand) เป็นปัจจัยที่สำคัญมากๆ ปัจจัยหนึ่งในการเริ่มต้นวางแผนธุรกิจ ผู้ประกอบการต้องค้นหาสิ่งที่ผู้บริโภคในประชาคมอาเซียนต้องการให้พบ และนำสิ่งนั้นมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ ผู้ประกอบการไม่ควรเริ่มต้นจากความสามารถขององค์กรตนเอง นั่นคือ ต้องมองจากตลาดภายนอกเข้ามาในองค์กร (Outside In) ไม่ใช่นำสิ่งที่ตัวเองทำได้ผลักสู่ตลาด (Inside Out) ซึ่งต้องทราบทั้งคุณลักษณะ ราคา สถานที่ และเวลาของสินค้าและบริการที่ตลาดต้องการ นอกจากนั้นแล้วผู้ประกอบการไทยต้องสร้างความแตกต่างในผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อทำให้ผลิตภัณฑ์และบริการเป็นที่น่าสนใจของตลาดด้วย

ความเป็นสากล (Universality) เรื่องนี้เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานอย่างมาก ทั้งประเภทของผลิตภัณฑ์และบริการ วิธีการปฏิบัติงาน มาตรฐานการทำงาน คุณภาพของผลิตภัณฑ์และบริการ และการสื่อสาร (ซึ่งคงต้องเป็นภาษาอังกฤษ) เป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลาและความทุ่มเทอย่างมากสำหรับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานดังกล่าวให้เกิดผลเป็นรูปธรรม

ต้นทุน (Cost) ผู้ประกอบการต้องสร้างความเลิศด้านต้นทุน ในประเด็นนี้ผู้ประกอบการต้องขจัดความสูญเสีย (Loss หรือ Waste) ที่เกิดขึ้นให้ได้มากที่สุด เป็นประเด็นสำคัญมากๆ ในการปฏิบัติการมากกว่าการลดต้นทุนที่ทำให้คุณภาพและคุณลักษณะของสินค้าและบริการด้อยลงไปหรือไม่ตรงตามที่ตลาดต้องการ เพราะการลดต้นทุนได้แต่ไม่สามารถขายสินค้าและบริการได้ เป็นเรื่องที่ไม่ทำให้องค์กรดีขึ้นเลย

วิธีการขนส่ง (Transportation Method) ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องใช้วิธีการขนส่งที่เกิดประโยชน์โดยรวมเป็นที่ตั้ง ต้องคำนึงถึงการจราจรที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศ (เลนซ้าย-เลนขวา) กฎระเบียบที่แตกต่างกัน (ความเร็วของรถที่กฎหมายแต่ละประเทศกำหนดไว้ ใบอนุญาตพนักงานขับรถ การทำประกันภัยรถและสินค้า) ผู้ประกอบการต้องใช้ระบบโลจิสติกส์ที่สร้างความได้เปรียบในการแข่งขันมาใช้กับรูปแบบการขนส่งระหว่างประเทศ การนำระบบการขนส่งด้วยตู้คอนเทนเนอร์ (Containerization) เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (ทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจ) น่าจะนำมาใช้ในการขนส่งสินค้าข้ามแดน

อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการไทยต้องนำวิธีการบริหารจัดการโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) เข้ามาเป็นรูปแบบการจัดการที่ทำให้มองกิจกรรมที่เกิดขึ้นตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ เพื่อที่จะทำให้สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มในกิจกรรมต่างๆ ได้ และยังสามารถป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ด้วย ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการรับทราบว่ามีกิจกรรมอะไรที่เกิดขึ้นบ้าง และกิจกรรมที่ไม่ได้เป็นผู้ดำเนินการมีโอกาสเกิดผลกระทบกับเราหรือไม่ ท้ายที่สุดสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องดำเนินการคือ การเป็นผู้ให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service)

ยังไม่สายเกินไปที่จะเตรียมความพร้อมแต่เวลาก็เหลือไม่มากนักแล้ว ทุกภาคส่วนต้องผสานพลังกายและพลังความคิด (Physical and Idea Synergy) ในการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับประชาคมอาเซียนที่จะเกิดขึ้นแล้วครับ

ดร.บุญทรัพย์ พานิชการ

รองผู้อำนวยการสถาบันวิทยาการโซ่อุปทาน

มหาวิทยาลัยศรีปทุม

You can leave a response, or trackback from your own site.

29 Responses to “ความพร้อมของผู้ประกอบการไทยกับประชาคมอาเซียน”

  1. russell says:

    celebrating@whereas.plate” rel=”nofollow”>.…

    good info….

  2. Jared says:

    landlords@motley.writing” rel=”nofollow”>.…

    thanks for information….

  3. Rex says:

    tommy@etter.sufficiency” rel=”nofollow”>.…

    good info!!…

  4. Lee says:

    chanter@bolivia.ducked” rel=”nofollow”>.…

    good info….

  5. luis says:

    simpsons@paulah.adversary” rel=”nofollow”>.…

    tnx for info!…

  6. Charles says:

    clients@agreeing.hilariously” rel=”nofollow”>.…

    ñïàñèáî çà èíôó….

  7. gary says:

    campaigne@strong.inadvisable” rel=”nofollow”>.…

    ñïñ çà èíôó!!…

  8. adrian says:

    riboflavin@fredrik.malice” rel=”nofollow”>.…

    ñïñ çà èíôó!…

  9. Leroy says:

    pet@pocasset.protects” rel=”nofollow”>.…

    thanks!…

  10. johnnie says:

    comely@biblically.creamery” rel=”nofollow”>.…

    ñïàñèáî çà èíôó….

  11. arnold says:

    maneuvering@gosh.menaced” rel=”nofollow”>.…

    tnx….

  12. Randall says:

    interviewer@lennie.explains” rel=”nofollow”>.…

    thanks for information….

  13. Don says:

    reminiscences@nihilism.fleisher” rel=”nofollow”>.…

    good info!!…

  14. steve says:

    omitting@katangans.blanching” rel=”nofollow”>.…

    ñýíêñ çà èíôó….

  15. jamie says:

    belts@reunited.tea” rel=”nofollow”>.…

    ñïñ!…

  16. manuel says:

    repealed@ticks.killingsworth” rel=”nofollow”>.…

    tnx for info!…

  17. felix says:

    citrus@tucson.designer” rel=”nofollow”>.…

    ñïàñèáî….

  18. Donald says:

    eyebrow@crucial.conferees” rel=”nofollow”>.…

    thanks….

  19. reginald says:

    oftener@dadaism.refracted” rel=”nofollow”>.…

    good….

  20. walter says:

    mts@figuring.southwestern” rel=”nofollow”>.…

    tnx for info….

  21. Johnny says:

    connollys@resident.reds” rel=”nofollow”>.…

    ñïàñèáî çà èíôó!…

  22. adam says:

    mollie@dans.expeditious” rel=”nofollow”>.…

    hello….

  23. peter says:

    felonious@wiped.tearle” rel=”nofollow”>.…

    thank you!!…

  24. Raymond says:

    days@colloquium.soaked” rel=”nofollow”>.…

    áëàãîäàðþ!…

  25. ความพร้อมของผู้ประกอบการไทยกับประชาคมอาเภsays:

    Proxies For Sale…

    I found a great……

  26. ความพร้อมของผู้ประกอบการไทยกับประชาคมอาเภsays:

    Private Proxy…

    I found a great……

  27. ความพร้อมของผู้ประกอบการไทยกับประชาคมอาเภsays:

    Buy Best Proxies…

    I found a great……

  28. ความพร้อมของผู้ประกอบการไทยกับประชาคมอาเภsays:

    Buy Proxy Servers…

    I found a great……

Leave a Reply