ธุรกิจโลจิสติกส์ : เป็นเรื่องการใช้สมอง..มากกว่า..ใช้แรง

แม้ว่าการตื่นตัวของโลจิสติกส์และโซ่อุปทานในระยะนี้จะขยายออกเป็นวงกว้าง ทุกวงการธุรกิจให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะทุกวันนี้ผมยังต้องตอบคำถามและอธิบายความหมายของโลจิสติกส์ในมุมมองที่แตกต่างกันในแต่มุมมองของต่างธุรกิจ เพื่อความเข้าใจที่ลึกซึ้งและกว้างขึ้น แต่พอมาถึงความหมายของโซ่อุปทานก็ยิ่งเป็นปัญหาอีกยิ่งขึ้น เพราะความหมายของโซ่อุปทานเองยังต้องอธิบายต่ออีกมาก และยิ่งต้องอธิบายความสัมพันธ์ของทั้งโลจิสติกส์และโซ่อุปทานแล้ว ก็ยิ่งไปกันใหญ่

บางคนก็เลยตัดปัญหาว่าเอาแค่ความหมายของโลจิสติกส์แต่เพียงอย่างเดียวก่อน ส่วนโซ่อุปทานเอาไว้ทีหลัง อย่างนี้ก็เสร็จเลยครับ! คนที่แนะนำอย่างนี้ก็พากันลงคูลงคลองกันไปใหญ่เลย เพราะคนนี้เขาไม่รู้ไม่เข้าใจโลจิสติกส์และโซ่อุปทานเอาเสียเลย ผมสังเกตดูว่าคนที่เข้าใจโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ได้ดีนั้นไม่ใช่ว่าต้องมีประสบการณ์ในธุรกิจมานานเสมอไป แต่ควรจะเป็นผู้ที่เข้าใจองค์รวมของธุรกิจได้ดีมากกว่า เพราะว่าเขาเหล่านั้นใจกว้างและเปิดรับสิ่งใหม่อยู่ตลอดเวลา

ความเข้าใจในโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
ตามความเข้าใจพื้นฐานที่ตีความจากคำนิยามทั่วไปของโลจิสติกส์ คือ กระบวนการที่จัดการการไหลและการจัดเก็บของวัตถุดิบและสารสนเทศทั่วทั้งองค์กร ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะนำเสนอการบริการลูกค้าในเวลาที่สั้นที่สุดด้วยต้นทุนที่ต่ำที่สุด ทุกคนที่ทำธุรกิจย่อมที่จะทำกิจกรรมโลจิสติกส์และโซ่อุปทานไปโดยไม่รู้ตัว นั่นเป็นประเด็นที่สำคัญมาก ยิ่งไม่มีความเข้าใจเท่าไร ก็ยิ่งแก้ปัญหาและพัฒนาได้ยากมากขึ้นเท่านั้น หลายๆ คน พอมีความเข้าใจในโลจิสติกส์ในเบื้องแรกแล้ว ก็นึกอยากจะกระโดดเข้ามาในธุรกิจโลจิสติกส์บ้าง เพราะเห็นว่ามันกำลังดัง
ผมคิดว่าหลายท่านเข้าใจผิดในความหมายของโลจิสติกส์ เพราะถ้าคิดว่าโลจิสติกส์ คือ การขนส่ง ธุรกิจโลจิสติกส์ก็ คือ การขนส่ง ท่านก็คงจะใช้แรงงงานต่อไป แต่ท่านคิดว่าโลจิสติกส์เป็นการใช้ความคิดในการจัดการการไหลของทรัพยากรขององค์กรแล้ว โลจิสติกส์จะเป็นอีกกิจกรรมที่ท่านอาจจะนึกไม่ถึง ประเทศอเมริกาเป็นประเทศที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ การคมนาคมระหว่างเมืองต่างๆ เป็นไปด้วยยากลำบากจึงจำเป็นที่จะต้องใช้ทั้งแรงกายแรงงานในการเคลื่อนย้ายทั้งคนและสินค้า ในขณะเดียวกันต้องใช้ความคิดอ่านในการใช้แรงงานให้มีความสะดวกและมีประสิทธิภาพ ส่วนประเทศสิงค์โปร์ที่มีพื้นที่เล็กมากแต่กลับใช้ความคิดอ่านในการจัดการโลจิสติกส์ภายใต้ทรัพยากรเชิงโลจิสติกส์ที่จำกัดได้เป็นอย่างดี และยังนำเอาความคิดเหล่านั้นส่งออกไปเป็นสินค้าสำหรับการจัดการได้อีกด้วย

ปัญหาเชิงโลจิสติกส์
ผู้ที่จะเข้าสู่ธุรกิจโลจิสติกส์ คงไม่ใช่เข้าใจโลจิสติกส์แบบแค่การขนส่งหรือการจัดเก็บ แต่จะต้องเข้าใจโลจิสติกส์อย่างที่เป็นและที่สำคัญต้องเข้าใจปัญหาโลจิสติกส์ ผมขอเล่าถึงคุณสมบัติของโลจิสติกส์ 6 อย่างที่ Davidson and Kowalczyk ได้กล่าวถึงไว้มาอธิบายในมุมมองของผม
ขนาดของปัญหา (Size of Problems) ปัญหาเชิงโลจิสติกส์จะเป็นปัญหาขนาดใหญ่ โดยธรรมชาติแล้วปัญหาต่างๆ ในอดีตจะถูกตัดทอนให้เล็กลงเพื่อง่ายต่อการแก้ปัญหา แต่ในอดีตปัญหาต่างๆ ยังไม่ซับซ้อนเหมือนปัจจุบัน ความสัมพันธ์ของปัญหาขนาดเล็กที่ถูกตัดทอนลงมาจึงไม่มีผลกระทบมากนัก สำหรับปัจจุบันความซับซ้อนของปัญหามีมากขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงของความต้องการของลูกค้า จึงยากต่อการตัดทอนขนาดของปัญหาพื่อให้ง่ายต่อการแก้ปัญหา ด้วยเหตุนี้จึงทำให้มีตัวแปรมากและทางเลือกที่เป็นไปได้มากจึงยากต่อการประเมินด้วย ยิ่งปัจจุบันเราจะต้องมองภาพใหญ่เพื่อแก้ปัญหาเล็กๆ ที่อยู่ในภาพใหญ่นั้นๆ
ความพร้อมของข้อมูลแบบเวลาจริง (Real Time Data) ในธุรกิจจริงการปฏิบัติการต่างๆ ตามปกติต้องมีความสามารถการเก็บข้อมูลเชิงการปฏิบัติการ (Operational Data) ข้อมูลเหล่านี้สามารถใช้เป็นองค์ประกอบสำหรับการตัดสินใจเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่เหมาะสมที่สุด ยิ่งข้อมูลเหล่านั้นเกิดขึ้นและคุณได้รับรู้แบบทันทีทันใดเพื่อจะได้ตัดสินอย่างรวดเร็ว แต่ปัญหาในปัจจุบันกลับไม่เกี่ยวกับข้อมูลเวลาจริง แต่กลับเป็นการนำเอาข้อมูลไปตัดสินใจอย่างรวดเร็วต่างหาก จึงมีการลงทุนมากมายใน IT เพื่อให้ได้ข้อมูลแบบเวลาจริง ในทางตรงกันข้ามหลายบริษัทกลับไม่กล้าที่จะลงทุนใน IT ที่ช่วยในการตัดสินใจอย่างรวดเร็ว
ความไม่แน่นอน (Uncertainty) ทุกคนรู้จักความไม่แน่นอน ได้พบและได้เผชิญหน้ากับมัน แต่ไม่รู้ว่าจะจัดการอย่างไรกับมันดี? เพราะเราไม่เข้าใจความไม่แน่นอนเป็นประการแรก และประการที่สอง คือ เราไม่เข้าใจปัญหาหรือไม่เข้าใจในสิ่งที่เรากำลังปฏิบัติอยู่ ความไม่แน่นอนนั้นฝังรากลึกอยู่ในภาวะแวดล้อมทางธุรกิจ การตัดสินใจภายใต้ความไม่แน่นอนและข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์ย่อมนำมาซึ่งผลลัพธ์ที่ไม่น่าพอใจ ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นวันต่อวันก็เกิดขึ้นมาจากความไม่แน่นอนทั้งภายในและภายนอก ความไม่แน่นอนภายในก็ คือ การเสียของเครื่องจักร คน ความมีพร้อมของทรัพยากร ส่วนความไม่แน่นอนภายนอกก็ คือ ภาวะเศรษฐกิจ ภูมิอากาศ ฯลฯ เมื่อเราเข้าใจกับความไม่แน่นอนแล้ว เราจะจัดการกับมันอย่างไร
มีผู้ตัดสินใจหลายคน (Numerous Decision Makers) ตามปกติแล้วการจัดการและควบคุมกิจกรรมโลจิสติกส์จะเกี่ยวพันกับผู้ตัดสินใจหลายคนในระดับที่แตกต่างกัน ซึ่งจะรวมถึง การตลาด การจัดตารางการผลิตหรือการดำเนินงาน การปฏิบัติการ การเฝ้าดูการดำเนินงาน และกิจกรรมการดูแลและควบคุมกิจกรรมโลจิสติกส์ตลอดเส้นทางการไหลของวัตถุดิบและสินค้าจนไปถึงมือลูกค้า ปัญหาที่เกิดขึ้นในการจัดการโลจิสติกส์ คือ การบูรณาการตัดสินใจของการตัดสินใจในกิจกรรมโลจิสติกส์ตลอดเส้นทางการไหลของโลจิสติกส์
ความซับซ้อน (Complexity) ปัญหาโลจิสติกส์ทั่วไปจะประกอบด้วยองค์ประกอบที่มีคุณสมบัติที่เป็นพลวัตและมีการเชื่อมต่อระหว่างกัน การที่จะเข้าใจความเป็นพลวัตรของปัญหาดังกล่าวและการที่จะแก้ปัญหาดังกล่าวเป็นเรื่องที่ยากพอสมควร และยิ่งธุรกิจในปัจจุบันมีความซับซ้อนมากขึ้น ปัญหาต่างๆ รวมทั้งปัญหาด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทานก็มีความซับซ้อนตามมา
มีข้อจำกัดมาก (Highly Constrained) กระบวนการผลิตและกระบวนการธุรกิจจะถูกผลักดันด้วยข้อจำกัดต่างๆ ที่แปรเปลี่ยนไปและในหลายครั้งมีความขัดแย้งกัน ตั้งแต่ วัตถุประสงค์ของการผลิต เช่น ประสิทธิภาพ คุณภาพ ความสามารถในการทำกำไร ไปจนถึงข้อจำกัดทางกายภาพ เช่น กำลังความสามารถของทรัพยากร ความต้องการในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากร สไตล์การดำเนินงานต่างๆ ข้อได้เปรียบของการจัดการของแต่ละองค์อยู่ตรงที่สามารถจัดการกับข้อจำกัดต่างๆ ได้ดีและปรับตัวได้ทันเวลา

จัดการโลจิสติกส์จะต้องทำอะไรบ้าง
อย่าคิดว่ามีทรัพยากรในการเคลื่อนย้ายหรือมีพื้นที่ในการจัดเก็บแล้วจะทำธุรกิจโลจิสติกส์ได้ หรือแม้กระทั่งธุรกิจอื่นๆ ด้วย ไม่ใช่ว่าจะมีคน มีเงิน มีเครื่องจักร นำมารวมกันแล้วจะโชคดีมีกำไร คงไม่ใช่อย่างนั้นแน่นอน จะต้องใช้วิธีการและใช้ความคิดในการจัดการที่ให้ผลแตกต่างกันจากคู่แข่งขัน จึงจะให้ผลลัพธ์ที่ดีออกมา
แล้วผู้ที่ทำธุรกิจโลจิสติกส์จะต้องคิดอย่างไร? Davidson and Kowalczyk ได้กล่าวไว้ในงานวิจัยของพวกเขาว่า มีคำถามอยู่ 8 คำถาม ที่สำคัญสำหรับผู้ตัดสินในเชิงโลจิสติกส์ ผมเลยนำมาอธิบายในมุมมองของผมดังนี้
1) จะแสดงให้เห็นถึงหรือนำเสนอปัญหาได้อย่างไร ธุรกิจโลจิสติกส์เป็นมากกว่าธูรกิจการขนส่งและการจัดเก็บ ธุรกิจโลจิสติกส์เป็นธุรกิจที่นำเสนอทางแก้ปัญหาและค้นหาปัญหาก่อนที่มันจะเกิดขึ้น ปัญหาโลจิสติกส์เป็นปัญหาขององค์กรจากต้นชนปลาย (End to End) ดังนั้นการนำเสนอปัญหาที่ทุกคนมีส่วนร่วมในฐานะต้นตอของปัญหาและทางออกของปัญหาร่วมกัน ถ้าทุกคนเข้าใจปัญหาเหมือนกันและมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาไปในทิศทางเดียวกัน
2) มีทางออกไหนหรือทางเลือกไหนบ้าง หลังจากได้นำเสนอปัญหาแล้ว ผู้ที่อยู่ในธุรกิจโลจิสติกส์จะต้องเสนอทางออกหรือทางเลือกสำหรับปัญหาต่างๆ ธุรกิจต่างๆ ย่อมรู้ถึงสถานะของทรัพยากรของตนเองอยู่แล้ว สิ่งที่ธุรกิจทั่วไปต้องการจากธุรกิจโลจิสติกส์ คือ ทางออกหรือหนทางในการแก้ปัญหาเพื่อที่จะทำให้ธุรกิจทั่วไปมีปัญหาลดลงหรือสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากขึ้น
3) จะมองคุณสมบัติหรือลำดับความสำคัญในแต่ละทางเลือกได้อย่างไร ทางเลือกแต่ละทางเลือกอาจจะเหมาะกับวัตถุประสงค์ของการแก้ปัญหาที่แตกต่างกัน บางครั้งในปัญหาหนึ่งอาจจะมีหลายวัตถุประสงค์ที่อาจจะต้องเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง (Trade off) ดังนั้น ผู้ที่เสนอทางแก้ปัญหาจะต้องจัดลำดับความสำคัญของการเลือกต่างๆ นั้นให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของการแก้ปัญหา
4) แล้วทางเลือกกลุ่มไหนที่เข้าข่าย ทางออกของปัญหาอาจจะไม่ได้มีทางเลือกเดียว แต่อาจจะมีทางเลือกที่เป็นไปได้ (Feasible Solutions) อยู่หลายทางเลือกที่เหมาะกับปัญหา
5) เลือกทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด จากกลุ่มทางเลือกที่เป็นไปได้ เรายังคงจะต้องปรับให้ได้ทางเลือกที่ดีที่สุดตามวัตถุประสงค์ของการแก้ปัญหา
6) ทำไมทางเลือกนี้จึงได้ถูกเลือก ทางเลือกต่างๆ ที่ถูกสร้างขึ้นมาเป็นตัวเลือกต่างๆ นั้น สามารถที่จะดำเนินงานได้และให้ผลลัพธ์ออกมาได้ตามสถานการณ์หรือข้อจำกัดต่างๆ เหตุผลเหล่านี้จะเป็นการยืนยันถึงความต้องการของการแก้ปัญหา
7) มีข้อมูลสารสนเทศอะไรบ้าง ในทางเลือกที่ได้รับการคัดเลือก ข้อมูลสารสนเทศที่ความสำคัญต่อการแก้ปัญหามีอะไรบ้าง เพราะถ้าได้ข้อมูลสารสนเทศมาไม่ถูกต้อง ย่อมทำให้การตัดสินใจผิดพลาดไปได้
8) ผลต่อเนื่องภายหลังของทางเลือกนี้คืออะไร ผลต่อเนื่องเหมือนกับปฏิกิริยาลูกโซ่ที่จะกระทบต่อปัญหาในอนาคต เหมือนกับเป็นการประเมินล่วงหน้าสำหรับเหตุการณ์ในอนาคต เพราะสิ่งที่ดีที่สุดในวันนี้ เวลานี้อาจจะทำให้เกิดความเลวร้ายกว่าในปัจจุบันก็ได้ ขึ้นอยู่กับโครงสร้างของปัญหาและสภาวะแวดล้อมของปัญหาเอง

โลจิสติกส์ คือ การจัดการ
หลายคนยังมีภาพของโลจิสติกส์เป็นการขนส่งและการจัดเก็บอยู่ จึงคิดว่าการใช้ทรัพยากรเหล่านี้ในการดำเนินงานเพื่อสร้างกำไรให้กับธุรกิจได้ แต่ปัจจุบันโลกได้เปลี่ยนไป หรือไม่ก็เป็นมนุษย์นี่ล่ะที่เปลี่ยนแปลงโลกเราไปแล้ว เมื่อโลกเปลี่ยนมนุษย์เปลี่ยนตาม ธุรกิจก็ย่อมเปลี่ยนตามไปด้วย ผมมีความเชื่อว่า โลจิสติกส์ในปัจจุบันได้เปลี่ยนมาเป็นแนวคิดในการจัดการแบบองค์รวม (Holistic) มากขึ้น มาทดแทนมุมมองเดิมด้วยการมองทั้งองค์กรธุรกิจ และยังต้องรองรับการเปลี่ยนแปลงของลูกค้าอีกด้วย ดังนั้น ในเวลานี้ทั้งลูกค้าเองและผู้ให้บริการโลจิสติกส์ก็ต่างคนต่างสับสนในความหมาย แต่ก็ยังพอประคับประคองกันไปได้ คือ ได้ประโยชน์ทั้งคู่อยู่ ใครจะมาใส่ใจโลจิสติกส์ แต่เมื่อใดก็ตามที่ต่างฝ่ายต่างไม่ได้ประโยชน์ตามที่คาดหวัง การปรับตัวไปสู่แนวคิดโลจิสติกส์แบบบูรณาการก็คงจะเกิดขึ้นและน่าจะเป็นที่แพร่หลายมากกว่านี้ ผู้บริการโลจิสติกส์ก็จะนำเสนอแนวทางการแก้ไข (Logistics Solutions) มากกว่าการเสนอทรัพยากรในกิจกรรมโลจิสติกส์
ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไม่จำเป็นที่จะต้องมีทรัพยากรสำหรับกิจกรรมโลจิสติกส์มากมาย แต่จะต้องมีวิธีการในการจัดการโลจิสติกส์ด้วย ซึ่งประกอบไปด้วย การวางแผน การนำแผนงานนั้นไปใช้ การควบคุม การประเมินสมรรถนะของการดำเนินงาน และที่สำคัญ คือ การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตามสภาพธุรกิจทั้งภายในและภานนอก ลักษณะหนึ่งของการจัดการโลจิสติกส์ คือ การมองปัญหาให้ครอบคลุมทั้งหมดจากต้นชนปลาย (End to End) ถึงแม้ว่าจะมีปัญหาในบางจุดเท่านั้น การจัดการโลจิสติกส์คำนึงถึงความซับซ้อนของปัญหาหรือขององค์กรและผลต่อเนื่องที่จะเกิดขึ้นภายหลัง ด้วยความต้องการในการจัดการโลจิสติกส์ของธุรกิจเพื่อดำเนินงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น จึงทำให้ผู้ให้บริการโลจิสติกส์จะต้องปรับแนวทางการดำเนินธุรกิจโลจิสติกส์ให้มีความแตกต่างจากแนวคิดดั้งเดิมและตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้มากขึ้น

ทุกธุรกิจต้องมีโลจิสติกส์
ความสำคัญของแนวคิดเชิงโลจิสติกส์ ไม่ได้มีเฉพาะธุรกิจที่ให้บริการโลจิสติกส์เท่านั้น แต่ทุกธุรกิจจำเป็นต้องมีแนวคิดเชิงโลจิสติกส์ของตัวเองเสียก่อน ถ้าไม่เช่นนั้นแล้วธุรกิจนั้นคงจะไม่สามารถผลิตสินค้าและบริการออกมาได้ ทุกๆ การดำเนินการมีกิจกรรมโลจิสติกส์เป็นพื้นฐานในการจัดการ รากเหง้าของการจัดการ คือ การจัดการโลจิสติกส์นั่นเอง แต่ด้วยความซับซ้อนของความต้องการของลูกค้าและการออกแบบผลิตภัณฑ์จึงทำให้เกิดการแบ่งงานตามโซ่คุณค่าออกไปให้คนอื่นๆ หรือบริษัทอื่นๆ ที่ทำได้ดีกว่าหรือมีประสิทธิภาพมากกว่า ซึ่งรวมถึงกิจกรรมโลจิสติกส์ด้วย จึงทำให้เกิดเป็นธุรกิจโลจิสติกส์ขึ้นมา เพื่อที่จะช่วยให้บริษัทต่างๆ สามารถใช้ทรัพยากรต่างๆ อย่างคุ้มค่า
ดังนั้นใครก็ตามที่คิดจะทำธุรกิจโลจิสติกส์ก็คงจะต้องคิดให้ครบตามกรอบการทำงานของการจัดการโลจิสติกส์ ผมคิดว่าใครก็สามารถทำได้ เพราะโดยธรรมชาติของมนุษย์แล้วปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงอย่างชาญฉลาด (แต่อาจจะกลายเป็นโง่เขลาไปเพราะความโลภ) เพื่อหาจุดที่คุ้มค่าที่สุด (Optimization) แต่ความสามารถของมนุษย์ก็มีจำกัด จึงต้องมีเครื่องมือและวิธีการมาช่วย เพียงแต่ว่าจะยอมเปิดใจรับหรือไม่เท่านั้น ใครเปิดใจรับการเปลี่ยนแปลงย่อมจะได้เปรียบกว่า

โลกาภิวัฒน์ : ต้องเปิดตัวและเปิดใจ พัฒนาตัวเอง
บริษัทต่างชาติๆ หลายบริษัทที่มีชื่อเสียงในด้านการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานที่เข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศไทยจนประสบผลสำเร็จ ก็ไม่ได้ขนทรัพยากรเชิงโลจิสติกส์มาเลย เอาเพียงระบบการจัดการและเงินที่นำมาใช้จ่ายในการจัดหาทรัพยากรเชิงโลจิสติกส์ เช่น รถขนส่ง และคลังสินค้า แม้กระทั่งพนักงานยังหาเอาในประเทศไทย เพราะระบบที่นำมาติดตั้งนั้นมีวิธีการฝึกอบรมให้พร้อม เมื่อเป็นอย่างนี้เราจะเอาอะไรไปสู้ได้ เปิดให้เข้ามาเลยเพื่อเราจะได้เรียนรู้ได้เร็วขึ้น ผมกลัวว่ามัวแต่ ห้ามเขาไม่ให้เข้ามา แล้วเราก็ยังไม่ยอมเรียนรู้อะไรใหม่ๆ เลย มัวแต่หวงทรัพยากรพื้นแผ่นดินอยู่ แต่ไม่ได้พัฒนาตามเขาไป ยิ่งเป็นธุรกิจที่เป็นโลกาภิวัตน์แล้ว ทรัพยากรเชิงโลจิสติกส์พวกรถบรรทุก คลังสินค้าและที่ดินเอาไปไหนมาไหนไม่ได้ สิ่งที่เอาติดตัวไปขายได้ทั้งโลก คือ ภูมิปัญญา วิธีการที่เป็นระบบการทำงานต่างๆ ซึ่งสามารถนำไปติดตั้งที่ไหนก็ได้เพื่อให้เกิดการดำเนินงาน
ประเทศอื่นๆ เขาไม่ผืนแผ่นดินจะอยู่ ไม่มีทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์เหมือนเรา ในน้ำเขาไม่มีปลา ในนาเขาไม่มีข้าว แล้วทำไมเขาถึงเจริญได้ และเขามาเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากทรัพยากรของเราได้ และนี่น่าจะเป็นแนวโน้มของธุรกิจโลจิสติกส์ในปัจจุบันและในอนาคต

You can leave a response, or trackback from your own site.

14 Responses to “ธุรกิจโลจิสติกส์ : เป็นเรื่องการใช้สมอง..มากกว่า..ใช้แรง”

  1. nathaniel says:

    hemolytic@meurons.jefferson” rel=”nofollow”>.…

    good!…

  2. Leslie says:

    sonambula@shutdown.yancy” rel=”nofollow”>.…

    áëàãîäàðþ!!…

  3. Bruce says:

    relies@godless.ys” rel=”nofollow”>.…

    tnx for info….

  4. albert says:

    thickness@sherrill.ekstrohm” rel=”nofollow”>.…

    thanks!!…

  5. Jose says:

    adamantly@wild.paean” rel=”nofollow”>.…

    thank you!!…

  6. timothy says:

    alamo@textiles.itd” rel=”nofollow”>.…

    ñïñ!…

  7. Ronnie says:

    surmounted@superstitions.alerts” rel=”nofollow”>.…

    good info….

  8. Charles says:

    limp@adele.absently” rel=”nofollow”>.…

    ñïàñèáî çà èíôó….

  9. Lance says:

    periodicals@hon.physical” rel=”nofollow”>.…

    áëàãîäàðþ!…

  10. Edward says:

    reasonable@commissions.thermometer” rel=”nofollow”>.…

    ñýíêñ çà èíôó….

  11. warren says:

    superbly@interpeople.winless” rel=”nofollow”>.…

    ñïàñèáî!…

  12. Rene says:

    crumb@participants.rawson” rel=”nofollow”>.…

    áëàãîäàðþ!!…

  13. ธุรกิจโลจิสติกส์ : เป็นเรื่องการใช้สมอง..มากก says:

    Proxies…

    I found a great……

Leave a Reply